สรุป ครบ จบโพสต์เดียว โครงสร้าง Chain Layer: L1/L2 /Cross-chain/Bridge

สวัสดีค่า 👋🏻🤓 มายด์ ปนัสยานะคะ
I learn to share and make the world a little better place to live in!


วันนี้มาแชร์เกี่ยวกับ Ecosystem ที่สำคัญที่สุดของโลกคริปโท คือ Chain Layer ถ้าจะให้เห็นภาพง่ายๆ การสร้างบ้านที่ดี ต้องมีเสาเข็มที่แข็งแรงเป็นรากฐาน เช่นเดียวกัน สิ่งที่เป็นฐานรองรับแอปพลิเคชั่นในวงการคริปโท คือ Chain Layer อย่าง Smart Contract Ecosystem เช่น Ethereum, Solana, BSC, Near, Avax ที่ทำให้ DAPPs สร้าง on top บนแต่ละเชน และยังมีพวก scaling solution ที่มีเป้าหมายเพื่อให้การทำธุรกรรมมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

นอกจาก Smart Contract Ecosystem ตัว Chain Layer ยังรวมถึง Infrastructure tools ที่ทำให้ DAPPs เข้าถึงเชนต่างๆ ง่ายขึ้น พวก backend frontend service ต่างๆ อย่าง Chainlink ใช้อ้างอิงข้อมูล เป็นต้น

ยิ่งแต่ละเชนมีแอปพลิเคชั่นมาพัฒนามากเท่าไหร่ จะดึงดูด users ให้ไปใช้มากยิ่งขึ้น

ภาพรวม DeFi Ecosystem
ภาพรวม DeFi Ecosystem

Layer1

ในแต่เชนก็มีความแตกต่างกันตาม Scalability Trilemma ได้แก่ Security, Decentralization, Scalability

ยกตัวอย่างง่ายๆ ที่เห็นชัดที่สุดคือ Ethereum ที่มีความ Decentralized และ Security สูง แต่กลับไม่สามารถ Scale ได้มาก (ค่าแก๊สการทำธุรกรรมจึงแพง)

ETH สามารถทำธุรกรรมได้ราว 12-30 transactions ต่อวินาที แต่ถ้าเทียบกับ web2 อย่าง VisaNet ที่ทำธุรกรรมได้มากถึง 1,700 transactions ต่อวินาที

Scalability Trilemma
Scalability Trilemma

EVM หรือ Ethereum Virtual Machine

EVM เปรียบเสมือน software ที่ทำให้ Developer สามารถสร้าง DApps ที่เป็น Ethereum-based ได้ง่ายขึ้น

เปรียบเทียบง่ายๆ EVM เปรียบเสมือนคู่มือการสร้างถนน แล้ว CZ ก็เอาคู่มือนั้นมาสร้างถนนในรูปแบบของตัวเอง เกิดเป็น BSC chain และก็ปล่อยให้รถมาวิ่ง รถเปรียบได้กับแอพที่แต่ละคนสร้างมาต่อยอดบนถนน BSC

โดย EVM chain ที่ได้รับการนิยมมากสุด คงหนีไม่พ้น ETH, BSC, OP, Matic

ข้อมูล ณ วันที่ 14 กรกฎาคม 65
ข้อมูล ณ วันที่ 14 กรกฎาคม 65

Non-EVM

เชนที่นิยมใน Non-EVM เช่น Solana, Tron, Near

ข้อมูล ณ วันที่ 14 กรกฎาคม 65
ข้อมูล ณ วันที่ 14 กรกฎาคม 65

Layer 2 Scaling Solution คืออะไร?

layer2 เพิ่มความเร็วการทำธุรกรรม (txn speed) ,  ความสามารถในการทำธุรกรรม (txn throuput) และลดค่าแก๊ส (gas fee)

ปกติเราเห็นภาพว่า บล็อกเชนมีกล่องยาวๆ ไปเรื่อยๆ และในแต่ละกล่องทำการประมวลผล เมื่อประมวลผลเรียบร้อย จึงย้ายไปกล่องถัดไป แต่ Scaling solution คือการทำธุรกรรมนอกกล่อง (Off-chain) จึงทำให้ขยาย ทำธุรกรรมเร็วขึ้น

ประเภทของ Layer 2

Channel | Sidechains | Rollups | Plasma

ประเภทของ Layer2
ประเภทของ Layer2

1. Channel

ผู้ใช้งานสามารถแลกเปลี่ยน ทำธุรกรรม ได้มากกว่า 1,000 txn/second แบบ off-chain โดยจะส่งข้อมูลไป based layer เมื่อทำธุรกรรมทั้งหมดเสร็จสิ้น

  • State Channel  คือ การทำธุรกรรม ปฏิสัมพันธ์ (Interaction) แบบ Off-chain ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดคือ การโอนเงินด้วย Bitcoin lighting network ที่ทำให้การทำธุรกรรมไม่มีค่าธรรมเนียมและรวดเร็วนอกจากการโอนเงินผ่าน BTC ตัว State Channel ยังสามารถทำธุรกรรมด้านอื่นๆ ที่เรียกว่า State Updates เช่น การฝาก ถอนต่างๆ

  • Payment Channel
    เป็นส่วนนึงของ State Channel สามารถทำธุรกรรมได้ไม่จำกัด ตามจำนวนเงินที่ล็อคไว้ใน Multisig Contract

  • ตัวอย่างโปรเจ็ค
    Raiden, BTC lighting network

  • ข้อจำกัด
    ไม่เปิดให้คนทั่วไปใช้บริการได้ทันที (No open participation) ถ้าอยากใช้งาน Channel ต้องล็อคเงินบน multi-sig contract
    และค่อนข้างใช้งานได้อย่างจำกัดเฉพาะบางแอพลิเคชั่นเท่านั้น (Application specific) ไม่สามารถใช้กับ smart contract ทั่วไปได้

    2. Sidechains

    คือเชนที่เน้นความเร็ว และแก๊สถูกในการทำธุรกรรม แต่มี consensus โมเดลและ block parameter ของตัวเอง

    หมายถึง ใช้การตรวจสอบความถูกต้องด้วย Node ไม่ขึ้นตรงกับ ETH *ความปลอดภัยจึงน้อยกว่า และมีความ centralized มากกว่ารูปแบบอื่นๆ นั่นเอง

  • ตัวอย่าง project Xdai, Skale, POA

    3. Rollups

    การทำธุรกรรมนอกกล่อง (Off-chain) โดยมี Layer1 หรือ ETH เชนหลักเป็นฐานรองรับตรวจสอบ

    = เท่ากับ Rollups มีความปลอดภัยสูงกว่าแบบอื่นๆ

เทคโนโลยีนี้ม้วน ข้อมูลออกไปจาก chain ETH หลัก จึงชื่อ Roll-up

Rollups ประกอบด้วย

🔵 Zk-rollupsตัวอย่างโปรเจ็ค Loopring (Dex), dYdX, Zk-SYnc, ZKSwap (V2), Aztec, Polygon Hermez

  • Starkware = ชื่อทีมที่พัฒนา product บน Zk-rollups

  • StarkNet / StarkEx = Product ของทีม Starkware

  • Zk-sync = ชื่อทีมที่พัฒนา product บน Zk-rollups

  • ZK-SNARKs และ ZK-STARKs คือ product ที่ใช้เทคโนโลยี zero-knowledge proof

🔵 Optimistic Rollups (ORU)

ตัวอย่างโปรเจ็ค :Boba Network, Metis Andromeda, Arbitrum, Optimism

🔵 Validium

คล้ายๆ zk-rollups แต่ zk-rollups จะเป็นการทำธุรกรรมแบบ on-chain ในขณะที่ Validium เป็นแบบ off-chain

ตัวอย่างโปรเจ็ค : DiversiFi (Dex), Sorare, ImmutableX

4. Plasma

เป็น layer-2 scaling solution ก่อตั้งโดย Joseph Poon และ Vitalik Buterin

  • เป้าหมายหลักคือ การสร้างแอปพลิเคชั่นที่สามารถสเกลได้ง่ายบน ETH (scalable applications) โดย Plasma ใช้เทคโนโลยี cryptographic verification และ smart contract ร่วมกัน เพื่อทำธุรกรรมนอกเชนที่ค่าธรรมเนียมถูกและเร็ว! เมื่อเสร็จสิ้น จะโอนกลับมาที่เชนหลัก

  • การทำงานมี Child chain (อธิบายง่ายๆ คือเชนลูก เป็นบล็อกๆ เล็กๆ ที่ก้อปเชนหลัก- Ethereum blockchain)ใช้ Fraud Proof ในการตรวจสอบข้อมูลระหว่าง Child chain กับเชนหลัก (Root chain)

    ข้อจำกัด

  • มีความ Centralized ในการบริหารจัดการการทำธุรกรรม Off-chain

  • ใช้เวลาถอนเงินออกนาน

  • ใช้งานได้อย่างจำกัดเฉพาะบางแอพลิเคชั่นเท่านั้น (Application specific) ไม่สามารถใช้กับ smart contract ทั่วไปได้

    ตัวอย่าง project

  • OMG network สร้างบน implementation of plasma ที่เรียกว่า More viable plasma

  • Matic ก็ดัดแปลงจาก Plasma


Cross-chain

Cross-chain คือ การทำงาน แลกเปลี่ยนข้อมูลและสินทรัพย์ระหว่าง 2 เชนที่แตกต่างกัน จึงจำเป็นต้องมี Bridge หรือตัวกลาง

ประเภทของ Cross-chain

1. Isomorphic cross-chains

องค์ประกอบ 2 เชนที่ทำงานร่วมกันได้ดี โดยไม่ต้องเพิ่มเทคโนโลยีหรือเชนอื่นเข้ามา อย่าง Security Mechanism, Consensus Algorithm, Network Topology และ Block Generation Verification เป็นต้น

2. Heterogeneous cross-chains

ระบบการทำงานค่อนข้างซับซ้อนมากขึ้น ขั้นตอนการทำงานจึงต้องมีอีกฝ่ายเข้ามาแปลงและส่งต่อข้อมูล เช่น Proof-of-Work Algorithm และ PBFT Consensus Algorithm


Use case ของ Cross-chain

1. Cross-chain Exchange

ผู้ใช้งานสามารถแลกเปลี่ยน token ข้ามเชนได้

  • ข้อดีคือ ทำให้มีค่า Slippage ต่ำ ไม่จำเป็นต้อง Wrap token หรือนำเหรียญไปขายและซื้อใหม่บน Centralized Exchange

2. Cross-chain Yield Aggregation

ตัวรวบรวมให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกฟาร์มในแพลตฟอร์มเดียว

Bridge โอน token ข้ามเชนด้วยตนเองและช่วยเพิ่มสภาพคล่อง Total Value Locked ในแพลตฟอร์ม DeFi อีกด้วย

3. Cross-chain Lending

แพลตฟอร์ม Trava Finance เป็นแพลตฟอร์มกู้ยืมแบบ Cross-chain Lending ซึ่งแพลตฟอร์มมีกลไกที่ยืดหยุ่นในการสร้างและบริหาร Pool ด้วยการตั้งค่า Parameter ได้เอง

4. Cross-chain DAOs

เราลดต้นทุนการทำธุรกรรม สำหรับ Cross-Chain DAO โดย user สามารถควบคุมและปรับค่า Parameter ของ Smart Contract ข้ามเครือข่ายที่แตกต่างกันได้

5. Cross-chain NFTs

user สามารถลิสต์, Bid NFT,โอน NFT ระหว่างแอปไปยังเครือข่ายหรือ Wallet ประเภทต่าง ๆ และแอปพลิเคชันหรือแพลตฟอร์ม GameFi สามารถทำงานแบบ Cross-chain ได้โดย Track ข้อมูลความเป็นเจ้าของ NFT จากเครือข่าย Blockchain

  • ตัวอย่างโปรเจกต์ Cross-chain : Polkadot, Cosmos (ATOM)

Cross-chain Bridge

การทำงานแบบ Cross-chain ไม่จำกัดแค่การถ่ายโอนสินทรัพย์ แต่ยังรวมถึงการโอนข้อมูล Information, trigger logic แบบ Cross-chain ซึ่งจะช่วยปลดล็อกการใช้งาน DApps ระหว่างเชน ที่เรียกว่า Cross-chain DApps หรือ xApps

แต่ในปัจจุบัน Bridge ที่เรายังมีข้อจำกัดที่เรียกว่า Interoperability Trilemma หรือไม่มี Bridge ใดสามารถมีทั้ง 3 องค์ประกอบอย่างครบถ้วนได้

 Interoperability Trilemma
Interoperability Trilemma

Interoperability Trilemma คือ องค์ประกอบ 3 รูปแบบที่ดีของ Bridge ได้แก่

  1. ไม่อิงกับองค์กร แพลตฟอร์ม หรือ บุคคลที่สามใดๆ ( Trustless )

  2. ความสามารถในการส่งข้อมูล ( Generalizable )

  3. การขยายไปเชนใหม่ ( Extensible )

โดยในแต่ละรูปแบบจะให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกันออกไป

Trustless + Generalizable

หรือที่เรียกว่า “Natively verified bridge”

  • มีความ decentralized ไม่ต้องเชื่อแพลตฟอร์ม ( Trustless )+ สามารถส่ง Asset และ Information ได้ ( Generalizable )

  • แต่ขาด Extensible หรือความสามารถในการขยายนอก ecosystemพูดง่ายๆ คือ cross-chain ได้แค่บ้านใกล้เรือนเคียง ไปเชนที่แตกต่างมากๆ ไม่ได้

เช่น bridge ภายใน Rollups, XCMP ของ Polkadot, IBC ของ cosmos

Generalizable + Extensible

หรือ “Externally verified bridge”

  • สามารถส่ง Asset และ Information ได้ ( Generalizable ) + สามารถเชื่อมต่อ ขยายไปเชนใหม่ ได้ง่าย ( Extensible )

  • แต่ขาด Trustless เท่ากับว่า เราต้องเชื่อใจในแพลตฟอร์ม ทีมที่จัดทำและ consensus ของ bridge นั้นว่ามีความปลอดภัยมากพอ

    เช่น Anyswap, Celer, Thorchain, Synapse, PolyNetwork, Biconomy,

Trustless + Extensible

หรือ “Locally verified bridge”

  • มีความ decentralized ไม่ต้องเชื่อแพลตฟอร์ม ( Trustless ) + สามารถเชื่อมต่อ ขยายไปเชนใหม่ ได้ง่าย ( Extensible )

  • แต่ขาดความสามารถส่ง Information ( Generalizable ) จึงไม่สามารถเกิดนวัตกรรมอย่าง xApps

    เช่น Hop, Connext

ทางแก้ต่อ Interoperability Trilemma

แพลตฟอร์ม Connext ปฎิวัติด้วยการเป็น Modular Bridge หรือการนำ bridge มากกว่า 1 ตัวมาทำงานร่วมกัน เพื่อให้มีครบทั้ง 3 องค์ประกอบ

Interoperability Trilemma Solution = Connext ( Trustless + Extensible ) + Nomad ( Generalizable )

โดย Connext ใช้ NXTP ( Noncustodial Xdomain Transfer Protocol )

NXTP ของ Connext เป็น Locally verified bridge ที่มีความ Trustless และ Extensible จึงเหมาะสำหรับการส่ง Asset แบบ Cross-chain มีปลอดภัยสูง

Connext มารวมตัวกับ Nomad เพื่อแก้ปัญหา Generalizable

Nomad คือ Optimistically verified bridge ที่ใช้การ verified ธุรกรรมด้วย fraud proof แบบ Optimistic Rollups

  1. NXTP - เป็น bridge ที่ส่ง asset ได้ดี+ Trustless

  2. Nomad - เป็น bridge ที่ส่ง information ได้

Modular Bridge ในอนาคต

Protocol Stack

ในอนาคต Messaging Layer สามารถมาสร้างบน NXTP อย่าง Polkadot XCMP, Cosmos IBC, Ethereum Rollups เพิ่มความสามารถในการขยายไปเชนอื่นๆ ได้

พูดง่ายๆ NXTP มันสามารถถูกต่อยอดได้อย่างไม่จำกัด ก่อเกิด xApps ได้มากมาย

xApps

เมื่อทุกแอปพลิเคชั่นสามารถทำงานร่วมกันอย่างง่ายดายโดยไม่ติดอุปสรรคภาษา โค้ด หรือเชนใดๆ แล้ว ในอนาคต เราจะสามารถนำ DApps มาใช้ได้ง่ายมากขึ้นโดยที่ UXUI จะทำให้เราทุกคนสามารถใช้บล็อกเชนในชีวิตประจำวันเหมือนอินเทอร์เน็ต web2 ในปัจจุบันอย่างแน่นอน

  • ตัวอย่าง xApp : transferto.xyz คือ bridge aggregator ดึง liquidity จาก bridge ต่างๆ และทำการหาเรทที่ดีที่สุดให้ User

Connext = Interoperability Trilemma Solution

Connext เป็น interoperability protocol ที่มีเครื่องมือพร้อมสำหรับให้ Developer สามารถใช้สร้าง cross-chain DApps ได้อย่างง่ายดาย มีจุดเเข็งคือ Trustless + Generalizable (Nomad) + Extensible

ทีม:

ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม:

Twitter:

Discord:


ติดตามให้กำลังใจมายด์บน Web2 ได้ที่ linktr.ee/mild.panassayal

Subscribe to Panassaya L.
Receive the latest updates directly to your inbox.
Mint this entry as an NFT to add it to your collection.
Verification
This entry has been permanently stored onchain and signed by its creator.