สรุป AMA t3rn x Contribution DAO

เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2022 ทาง Contribution DAO ได้มีโอกาสจัด AMA ร่วมกับโปรเจค t3rn ซึ่งเป็นหนึ่งในโปรเจคที่หน้าจับตามองบน Polkadot Ecosystem ครับ ครั้งนี้เราได้รับเชิญ Matheus ซึ่งเป็น Community Manager และช่วยเหลือทีมด้าน Marketing ครับ

บทความนี้เราจะมาสรุปเนื้อหาต่างๆที่ทางทีมได้คุยกับ Matheus เกี่ยวกับตัวโปรเจคของ t3rn นั่นเองครับ ถ้าหากต้องการดูวีดีโอเต็มย้อนหลัง สามารถดูได้ที่นี่เลยครับ

t3rn คืออะไร? และปัญหาอะไรที่ t3rn ต้องการจะแก้?

ปัญหาที่ทาง t3rn ต้องการจะแก้นั้นมีอยู่ด้วยกัน 3 อย่าง ได้แก่

  1. Open source Development

    Opensource คือการเปิดเผย source code ของโปรแกรม ทำให้สามารถแก้ไข ดัดแปลง เผยแพร่ตัว source code ซึ่งเป็นการให้สิทธิเสรีแก่ผู้ที่จะนำไปใช้ หรือเพื่อการพัฒนาซอฟต์แวร์ร่วมกันใน ลักษณะของการร่วมกันพัฒนา ทำให้เป็นสังคมนักพัฒนา ซอฟต์แวร์ ทว่า ปัญหาของ opensource นั้นคือ อาจจะโดนการลอกเลียนแบบ และนำผลงานที่ลอกเลียนแบบไปแสวงหาผลกำไรได้

  2. Fail-Safe Interoperability

    Interoperability คือการสื่อสารอย่างทั่วถึงกัน (ในที่นี้คือการสื่อสารระหว่าง Blockchain) โดยปกติแล้ว Blockchain เวลาสื่อสารกันจะไม่มีกระบวนการการ Fail-safe ยกตัวอย่างเช่น

    สมมุติว่าเราอยากจะเอาเงินบน Ethereum ไปซื้ออะไรบางอย่าง บน Polygon และถ้าเกิดว่าธุรกรรมนั้นเกิดผิดพลาดขึ้นมา โดยที่ไม่มีกลไก revert transaction (ย้อนธุรกรรมกลับ) เหมือนเวลาที่เราสามารถทำได้กับ smart contact ก็อาจจะอันตรายได้

    ซึ่ง t3rn ต้องการที่จะมาแก้ในส่วนนี้โดยการเพิ่มในส่วนของกลไก Fail-safe เข้าไปเพื่อให้การทำ ธุรกรรมข้าม Chain นั้นปลอดภัยยิ่งขึ้นโดยมั่นใจว่าธุรกรรมจะเป็นไปตามพฤติกรรมที่เราต้องการ

  3. Interoperable and Compostable

    t3rn ต้องการที่จะให้โปรเจคบล็อคเชนประกอบเข้าด้วยกันได้ ซึ่งนี้ก็ได้ส่งเสริมในส่วนของ interoperability ภายใน Polkadot อีกที

t3rn ทำงานยังไง?

t3rn ได้สังเกตุเห็นถึงปัญหาของการที่ Open source นั้นถูกลอกเลียนแบบกันไปเยอะมากในโลกของ Blockchain แล้ว Developer ที่เป็นคน Design code นั้นไม่ได้รับรางวัลจริงๆที่สมควรจะได้รับ ทาง CEO ของ t3rn จึงได้คิดที่จะแก้ปัญหาในตรงนี้ด้วย Blockchain

ทาง t3rn นั้นต้องการที่จะทำ Opensource ที่ดี ดังนั้นระบบควรที่จะเชื่อมต่อได้กับหลายๆที่ได้ด้วยเช่นกัน ซึ่งต้องการที่จะทำให้เรียกใช้ธุรกรรมต่างๆได้ง่าย ร่วมไปถึงในส่วนของ Interoperability โดยต้องการที่จะทำให้ Blockchain สื่อสารเชื่อมต่อซึ่งกันและกันได้ ซึ่งข้อเสียของการเชื่อมต่อกันของ Blockchain คือการทำธุรกรรม Cross chain นั้นจะต้องทำหลายๆธุรกรรมทับซ้อนกัน แต่จริงๆแล้วเราสามารถที่จะนำ ธุรกรรมต่างๆมารวมกันเพื่อให้เป็น ธุรกรรมก้อนใหญ่ก้อนเดียว ไม่ว่าจะเป็นการ Swap บน Chain นึงหรือต้อง Bridge ไปอีก Chain นึงก็จะทำให้ทำได้ง่ายขึ้น และเพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพในการส่งต่อข้อมูลระหว่าง Chain ได้มากขึ้น ซึ่งในอนาคตทาง t3rn ก็อยากจะทำให้เชื่อมโยงในส่วนนี้กับ NFT ด้วยเช่นกัน

ใน Polkadot นั้นมีระบบที่ชื่อว่า Substrate ซึ่ง Sustrate เปรียบเสมือนพื้นฐานของ Polkadot และได้ถูกออกแบบมาเป็นอย่างดี เหมือนกับแซนวิชที่เวลาอยากจะได้อะไรเพิ่มก็สามารถที่จะเติมเข้าไปได้ แบบง่ายๆ ดังนั้น t3rn จึงได้ทำในส่วนนี้มาใช้ต่อและทำให้ Cross Chain Interoperability นั้นทำได้ง่ายขึ้น

กลไก Interoperability ของ t3rn นั้นเป็นอย่างไร?

t3rn นั้นจะมี ส่วนประกอบต่างๆมากมาย โดยมีสิ่งที่เรียกว่า Gateway กับ Circuit ซึ่ง Circuit นั้นเปรียบเสมือนบ้านหลังนึงที่ทำหน้าที่เชื่อมโยง ธุรกรรมต่างๆ เช่น สมมุติว่าเรามี Blockchain A, B, C, D, E ซึ่งทั้งหมด 5 เชนนี้จะคุยกันผ่าน Circuit โดย Circuit จะเป็นตัวที่คอยควบคุมธุรกรรมไปมาระหว่าง Blockchain

Circuit นั้นจะเชื่อมต่อ Blockchain ผ่านสิ่งที่เรียกว่า Gateway ซึ่งข้อดีของ Gateway คือเราสามารถปรับแต่งได้ค่อนข้างเยอะ สมมุติว่า เราต้องการที่จะส่งข้อมูลของเกมอย่าง Sandbox เราก็สามารถที่จะ ปรับแต่งให้ตัว Gateway สามารถส่งข้อมูลในลักษณะที่เราระบุไว้ได้เลย

โดยทาง t3rn จะมี Actor อยู่ตัวนึงซึ่งก็คือ Fisherman ที่จะคอยตรวจการทำงานของการส่งต่อข้อมูลว่ามีอะไรผิดพลาดรึเปล่า Fisherman นั้นก็จะคอยเช็คภายใน และถ้าหากว่ามีข้อผิดพลาดก็จะทำให้โดนหักค่า fees และหักค่าต่างๆ และ Fisherman ที่เป็นคนที่ Report ก็จะได้ผลตอบแทนเป็นค่าธรรมเนียมกลับไป

อะไรคือจุดเด่นของ t3rn เมื่อเทียบกับโปรเจคอื่นที่ทำเกี่ยวกับ Interoperability ใน Blockchain

t3rn นั้นมองว่าการที่มีโปรเจคที่ทำเกี่ยวกับ Interoperbility เยอะขึ้นนั้น ก็เป็นโอกาสให้ทาง t3rn ได้ไปเชื่อมต่อกับทางโปรเจคอื่นได้มากขึ้น สมมุติว่า โปรเจค Radicle ต้องการที่จะทำ Interoperability สิ่งที่ t3rn จะทำก็คือการไปเชื่อมต่อด้วย หรือเป็นในเชิงของการช่วยเหลือกันมากกว่า โดย t3rn เชื่อว่าการช่วยเหลือกันและทำให้ระบบนิเวศน์นั้นแข็งแกร่งขึ้นนั้นดียิ่งกว่า

ซึ่งจุดเด่นของ t3rn จะมีอยู่ 2 อย่างหลักด้วยกันคือ

  1. กลไกล Fail-Safe ซึ่ง Fail-Safe นั้นในปัจจุบันมีไม่กี่โปรเจคที่ใช้ Fail-Safe ทาง t3rn ก็เป็นหนึ่งในโปรเจคเหล่านั้นที่ได้ใช้กลไกนี้ ซึ่ง Fail-Safe นั้นเป็นกลไกที่ค่อนข้างปลอดภัยตามหลักการ ซึ่งทางทีมของ t3rn นั้นก็ค่อนข้างมั่นใจที่จะสามารถทำในส่วนของ Fail-Safe ให้สำเร็จได้ หรือไม่ว่าจะเป็นในส่วนของ Report system ที่ค่อนข้างเข้าใจง่ายและชัดเจน ยิ่งเขียนโค้ดออกมาดีเท่าไหร่ยิ่งได้รับ Reward ที่ดีขึ้นตามไปด้วย
  2. กลยุทธ์ ทางทีมนั้นมีความเป็นมืออาชีพมากๆ ซึ่งก็ได้ไปตามงานต่างๆทั่วโลกเพื่อที่จะเชื่อมต่อกับกลุ่มอื่นๆในโลกคริปโต โดยทาง t3rn นั้นค่อนข้างที่จะเลือกคนที่จะมาลงทุนด้วย และทุกการกระทำของ t3rn นั้นมีแบบแผนทุกอย่าง นั้นก็เลยเป็นจุดแข็งของ t3rn

Fail-Safe ที่ดีนั้นควรเป็นยังไง?

Fail-Safe ที่ดีนั้นควรจะมี 2 อย่าง

  1. เงิน นั้นควรที่จะปลอดภัย 100%
  2. ควรที่จะ Interoperable หรือสามารถที่จะเชื่อมต่อได้จริงๆ

ทาง t3rn นั้นได้เลือก Polkadot นั้นเพราะสามารถที่จะเชื่อมต่อกับ Ethereum ได้ดี และนี่ก็เป็น 2 เหตุผลหลักที่ t3rn ถึงมี Fail-Safe ที่ดี

t3rn จะ Support Metamask หรือไม่?

เนื่องจากต้องเข้าใจกันก่อนว่า t3rn นั้นอยู่ใน Polkadot และไม่ใช่ EVM-based ทำให้ต้องใช้ wallet ของทาง Polkadot แต่ทาง t3rn นั้นพยายามที่จะทำให้ t3rn เชื่อมต่อกับ Metamask ได้ในอนาคต ซึ่งในส่วนนี้อาจจะไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทำ แต่ทางทีมจะพยายามพัฒนาให้เชื่อมต่อได้

t3rn จะมีแผนที่จะปล่อย Crowdloan หรือไม่?

ทาง t3rn นั้นไม่ได้มีแผนที่จะปล่อย Crowdload บน Kusama แต่จะมีใน Polkadot ทีเดียว เนื่องจากโปรเจคนั้นไม่จำเป็นที่จะต้องรัน Crowdloan บน Kusama ก่อนแล้วต้องมา Polkadot แล้วแต่ที่โปรเจคจะเลือก แต่ในส่วนของ t3rn นั้นได้โฟกัสไปที่ทาง Polkadot ซะส่วนใหญ่ การที่เป็น Interoperability นั้นจะต้องเชื่อมต่อกับทุก Chain อยู่แล้วจึงไม่จำเป็นที่จะต้องมารันใน Kusama ก่อนซึ่งทางทีมคิดที่จะทำให้ Polakdot ให้ดีไปเลยทีเดียว

t3rn จะสร้าง Bridge หรือเปล่า?

เนื่องจาก t3rn นั้นอยู่ใน Polkadot ซึ่ง Polkadot นั้นสามารถที่จะโอน Asset ไปมาระหว่าง Chain ได้อยู่แล้ว ทาง t3rn จึงไม่อยากที่จะเสีย resouce ไปในส่วนนั้นจึงอย่างที่จะไปโฟกัสใน Polakadot Ecosystem มากกว่า ดังนั้น ณ ปัจจุบัน ในส่วนของ Bridge ทาง t3rn ได้เลือกใช้ในส่วนของ Thrid party เสียมากกว่า


ติดตาม t3rn

ติดตาม Contribution DAO


เกี่ยวกับผู้เขียน

England

สวัสดีครับทุกคน เรียกผมว่าอิงแลนด์ก็ได้นะครับ ผมค่อนข้างเป็น Crypto Enthusiast เลยก็ว่าได้ครับและตื่นเต้นกับโลกการเงินในอนาคตมากๆ โดยการเขียนพวกนี้เหมือนเป็นการที่ผมได้ทบทวนความรู้ต่างๆ จึงอยากจะมาแชร์ให้กับทุกคนด้วยเหมือนกันครับ

chompk.eth

เป็น proofreader และคนคอยอ่านและเรียบเรียงบทความอีกรอบ ทำงานด้าน AI เป็นงานประจำและศึกษา crypto เป็นอาชีพเสริม มีความสนใจทั้งในด้าน AI และ blockchain และยังหลงไหลในแนวเพลง math rock เป็นพิเศษ งานอดิเรกคือการเล่นกีต้าร์ วิ่ง ฟังเพลง และ ทำงาน ทำงาน ทำงาน

Subscribe to ContributionDAO
Receive the latest updates directly to your inbox.
Verification
This entry has been permanently stored onchain and signed by its creator.