🌟 สถาปัตยกรรมระบบBlockchain แบบใหม่ ที่เรียกว่า Modular Blockchain ที่ถูกพัฒนาโดย Celestia คือ ชิ้นส่วนสุดท้ายของการเชื่อมระหว่าง L111 และ L222 🌟
***โพสนี้ยาวมาก แต่คืออาหารสมองชั้นเยี่ยม
🤗 - ทำไม Celestia ถึงมีความสำคัญอย่างมาก ในมุมมองของ Builder วันนี้เรามาวิเคราะห์ให้ฟัง โดยทีม Research ของ ContributionDAO
💡 ในปัจจุบันเราพบว่า มีวิธีการ Scale ของบล็อกเชนสามารถแบ่งได้เป็น 2 แบบหลักๆ คือ
1.Vertical Scaling
2.Horizontal Scaling
🔸แบบที่ 1 หรือ Vertical Scaling เราคุ้นเคยกันอยู่แล้วก็คือ Layer 2 ที่ถูกสร้างบน Layer 1 อย่าง Ethereum โดยการผลักภาระการคำนวณต่างๆ ไปให้ Layer 2 ทำการคำนวณ แต่ยังคงอาศัยความ Decentralize จาก Eth อยู่โดยการส่งข้อมูลธุรกรรมบน Layer 2 กลับมาบน Layer 1
🔸แบบที่ 2 ก็คือ Horizontal Scaling จะเป็นพวกโปรเจคอย่าง Cosmos จะทำการ Scale โดยเป็นตัวกลางที่เชื่อมต่อเข้ากับบล็อกเชนต่างๆเข้าด้วยกันเพื่อกระจายการทำงาน แต่การ Scale แบบนี้จะต้องสูญเสียความ Decentralize ไปเนื่องจาก Validator ที่ดูแลแต่ละเชนมีความกระจัดกระจายมาก และไม่เป็น1เดียวแบบ Ethereum / Bitcoin
🏆- วิธีการที่ 3 หรือ วิธีใหม่ ที่เรียกว่า Modular Blockchain
วันนี้เราจะมาพูดถึงบล็อกเชน Layer 1 แนวใหม่ที่สามารถทำให้ระบบนิเวศของบล็อกเชนสามารถ Scale ได้(ในระดับ Data Availability) โดยที่ไม่ต้องสูญเสียความ Decentralize ไปแต่อย่างใด รวมถึงการเกิดNew chain โดยไม่จำเป็นต้องไปหา Validator ใหม่ๆ เพื่อสร้างความปลอดภัยให้แก่เชนตัวเองอีกแล้ว แต่ยังสามารถใช้ความปลอดภัยที่มีอยู่แล้วได้เลย นั่นคือ Celestia!!!
🧑💻 เรามาดูกันก่อนว่าปัญหาของ Ethereum และบล็อกเชน Layer 1 อื่นๆ มีปัญหาอะไร ทำไมมันถึงช้าและ Gas แพงมากๆ แถมยัง Scale ได้ยากอีก สาเหตุเหล่านี้เพราะอะไร ?
ปัญหามันมีอยู่ว่าบล็อกเชน Layer 1 ต่างๆ ในปัจจุบันนั้นมีรูปแบบเป็น
"🔹Monolithic Blockchain🔹 หรือเป็นบล็อกเชนที่ทำงาน
ทุกอย่างด้วยตัวมันเอง " ซึ่งหลักการทำงานของ Monolithic Blockchain ประกอบไป 3 ขั้นตอนในการปฏิบัติ
🔸1. Execution - การดำเนินการธุรกรรมต่างๆ และการทำให้เกิดการเปลี่ยนสถานะของตัวระบบบล็อกเชน
🔸2. Consensus - การที่โหนดนั้นเห็นร่วมกันในการ Execution
🔸3. Data Availability – ข้อมูลของธุรกรรมต่างๆ ต้องมีอยู่และสามารถเข้าถึงได้
🔴 - ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ พวกโหนดแต่ละโหนดของเจ้าตัวบล็อกเชน Layer 1 นั้นจำเป็นต้องทำงานทุกอย่างตั้งแต่ข้อ 1-3 ด้วยตัวมันเองจึงทำให้มันช้าเพราะ งานที่ทำนั้นเยอะ ซึ่งเราสามารถทำให้มันเร็วได้โดยบังคับให้แต่ละโหนดใช้ Spec คอมที่สูงขึ้นแต่สิ่งที่ต้องแลกกับมาคือความ
Decentralize ที่หายไป เพราะจะมีสักกี่คนที่สามารถเข้าถึงคอมพิวเตอร์ Spec สูงๆ ได้
🔴 ด้วยปัญหาความช้าของ Layer 1 จึงทำให้มี Modular Blockchain เกิดขึ้นมานั่นคือ Layer 2 ซึ่งเป็นรูปแบบบล็อกเชนที่ตรงข้ามกับ Monolithic ซึ่งมันไม่จำเป็นต้องทำทุกอย่างด้วยตัวมันเอง
เทียบง่ายๆ คือ
🚌 Monolithic Blockchain คือ Old School
🚅 Modular Blockchain คือ New School
สิ่งที่ Layer 2 ถนัดคือเรื่อง Execution โดยจะเน้นไปที่
🔸คอยจัดการกับธุรกรรมหรือการใช้งาน Smart Contract ต่างๆ ที่เกิดขึ้นบน Layer 2 และทำได้เร็วกว่า Layer 1 มากๆ
แต่ในด้านความปลอดภัยนั้นยังต้องอาศัยความปลอดภัยของ Layer1 อยู่ เช่น Optimistic Rollup ที่ต้องนำ Data ของ Layer 2 ส่งมาเผยแพร่บน Layer 1 เพื่อให้มีสิ่งที่เรียกว่า Data Availability และมีความ Decentralize ของ Data เพื่อทำให้คนที่ทำหน้าที่ Proof สามารถนำเอา Data นี้ไปสร้างหลักฐานได้หาก Layer 2 มีการโกงเกิดขึ้น
❌ ถึงแบบนั้นแล้ว Layer 2 ก็ไม่ได้ช่วยให้ Scale ได้ดีมากนักเนื่องจากตัว Layer 1 เองยังคงมีการทำ Execution หรือมีแอพลิเคชันต่างๆ ที่มันยังคงต้องคำนวณอยู่ ทำให้มีทรัพยากรณ์ที่จำกัด
💖 เอาหล่ะ มาถึงพระเอกอย่าง " Celestia " หรือ มีอีกชื่อ Lazy Ledger เป็นบล็อกเชนที่เป็น Modular กัน
สิ่งที่ Celestia ถนัดก็คือ Consensus และ Data Availability เท่านั้น แต่ไม่ทำการคำนวณใดๆ เลย (Lazy นั่นเอง 5555+ คือปล่อยให้พวก Optimism , Arbitrum . zkSyc หรืออื่นๆ ทำแทน) แต่ตัว Data Availability นั้น Celestia จะเป็นคนจัดการเอง
🧡 Data Availability มีความสำคัญมากๆ เพราะ ?
ถ้าหากไม่มีสิ่งนี้แล้วเมื่อ Block ของ Blockchain ถูกสร้างขึ้นมา จะไม่มีใครรู้เลยว่าข้างในบล็อกมีอะไรอยู่ในนั้นบ้าง ถ้าหากไม่มี
ข้อมูลเหล่านี้แล้ว Optimistic Rollup ก็ไม่สามารถสร้าง Fraud Proof ได้หรือไม่มี Security หรือแม้แต่ Layer 1 เองถ้าไม่มี สิ่งนี้เราจะรู้ได้อย่างไรว่า Block นั้นถูกสร้างมาอย่างถูกต้อง หรือ Node อื่นๆ ที่จะรอทำการยืนยันจะไม่สามารถยืนยันความถูกต้องได้
อย่างไร แม้แต่ Zk Rollup ถ้าหากไม่มี Data แล้วเราก็ไม่มีทางที่จะรู้ หรือสร้างสถานะ ณ ปัจจุบันของเชนขึ้นมาได้เลย
💗 ตัว Celestia นั้นสร้างขึ้นมาเพื่อทำให้แน่ใจว่ามี Data เหล่านี้มีอยู่จริง โดยที่บล็อกเชนอื่นๆ สามารถมาสร้างบน Celestia อีกทีนึง ซึ่งบล็อกเชนที่สร้างบน Celestia นั้นจะทำหน้าที่ Execution หรือเป็นพื้นที่เอาไว้สร้างแอพลิเคชันรวมถึงการคำนวณต่างๆ เป็นหลักนั่นเอง [Celestia ดูแลเรื่อง Consensus + Data Availability ]
✅ "การทำแบบนี้ทำให้ชั้น Execution หรือชั้นที่บล็อกเชนมาสร้างบน Celestia นั้นไม่ต้องสนใจเรื่องอะไรเลย นอกจาก Execution รวมถึงยังได้รับความยืดหยุ่นในการออกแบบอีกด้วย เพราะ Data ที่ถูกเก็บไว้บน Celestia นั้นเป็นรูปแบบอะไรก็ได้ ไม่สนภาษาว่าจะใช้ภาษาอะไร เพราะ Execution Layer จะเป็นคนประมวลข้อมูลเหล่านี้ด้วยตัวมันเอง"
🏢โครงสร้างของ Celestia นั้นใช้การ Sampling Data เพื่อรักษาความปลอดภัย และอะไรหล่ะ คือ Sampling Data ?
🔸การ Sampling Data คือการสุ่มข้อมูลขึ้นมา เพื่อดูว่ามีข้อมูลอยู่จริงๆ โดยที่ไม่จำเป็นต้องดาวน์โหลดข้อมูลทั้งหมดมาเพื่อตรวจสอบ
💕 แล้วมันน่าสนใจอย่างไร และ มันจะ Scale ยังไง ?
1.มันเจ๋งตรงที่ สิ่งนี้ทำให้Light Node ของ Celestia มีความปลอดภัยพอๆ กับ Full Node และ มากไปกว่านั้นถ้าหากจำนวนโหนดยิ่งเยอะแปลว่ามีคนช่วย
ตรวจสอบ Data ในบล็อกของ Celestia เยอะขึ้นทำให้ขนาด Block ของ Celestia จะใหญ่ขึ้นได้ตามจำนวน Node ที่มีอยู่ในระบบของ Celestia แปลว่าเราสามารถ Scale ขนาดของบล็อกได้โดยแต่ละโหนดยังคงทำงานเท่าเดิมไม่ต้องอัพเกรดคอมพิวเตอร์ให้แรงขึ้น ขอเพียงแค่มี Node มาช่วยรันเยอะขึ้นก็พอ
.
ง่ายๆ คือ ยิ่ง Node เยอะ ทำให้ ▶ Block ของ Celestia โตขึ้น
Block ของ Celestia โตขึ้น ทำให้ ▶ Scale ได้ง่ายขึ้น
.
2.เนื่องจากงานในการสุ่ม Data มาตรวจสอบมันง่ายมากๆ ในอนาคตเราอาจสามารถรัน Node ของ Celestia บน📲 มือถือได้เลย
3.บล็อกเชนต่างๆ ที่มาสร้างบน Celestia จะได้ประโยชน์จาก Security และความ Decentralize ของ Celestia ไปเต็มๆ โดยที่ไม่ต้องมาสร้างหรือรวบรวมเหล่า Validator ใหม่จาก 0 เพราะ Celestia ได้จัดการเรื่องนี้ไว้ให้แล้ว พวก Builder แค่ทำให้ Execution Layer มันเร็วและดีก็พอ
🥊สุดท้ายเลย
เจ้า Celestia ยังมีโปรเจคย่อยที่ชื่อว่า Celestium อยู่อีกด้วย สิ่งที่ Celestium ทำคือช่วยให้ Layer 2 ที่มีอยู่แล้วบน
Ethereum นั้นสามารถ Scale ได้มากขึ้นไปอีก โดยหัวใจสำคัญของ Layer2 บน Ethereum นั้นจะได้รับความปลอดภัย ของ Ethereum ก็ต่อเมื่อทำการ Rollup หรือส่ง Data กลับมาบน Ethereum แต่เนื่องจากค่า Gas ที่แพงและขนาดของบล็อกที่จำกัดของ Ethereum ทำให้ส่ง Data ได้ขนาดไม่ใหญ่มากนัก จึงมีแนวคิดในการจัดเก็บ Data เหล่านี้ไว้แบบ Off-chain (ไม่ได้เก็บบน Ethereum) โดยจะมีเหล่าผู้ดูแลเช่นโมเดลที่ชื่อว่า DACs และ Validium
🌞 อะไรคือ DACs และ Validium ?
หลักการทำงานคร่าวๆ คือ เราจะเชื่อกลุ่มคนเล็กๆ กลุ่มหนึ่งเพื่อให้เขาคอยดูแล Data และยืนยันว่ามี Data Availability จริงๆ ซึ่งแน่นอนว่าความปลอดภัย นั้นต่ำกว่า Rollup มากๆ เพราะเรา Trust หรือเชื่อในกลุ่มคนแค่ไม่กี่คน (เหมือนกับบริดจ์ที่ใช้ Multisig) แต่ Celestium แก้ปัญหานี้โดยนำเอา Data เหล่านั้นส่งไปยัง Celestia เพื่อการันตี Data Availability และเนื่องจาก Data Availability ของ Celestia ได้รับการดูแลโดยโหนดต่างๆ และมีการทำ PoS ทำให้มีความปลอดภัยที่สูงกว่า DACs และ Validium มากๆ รวมถึงมีค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่าและ Scale ได้ดีกว่าแบบ Rollup นั่นเอง
🐧 Celestia กำลังจะมี Incentivized Program จากการ Run node ดังนั้น ContributionDAO เลยทำ Knowledge Bounty นี้ขึ้นมาเพื่อให้เพื่อนๆ สามารถใช้ดูเป็นกรณีศึกษาได้ครับ
1.Knowledge bounty จะอยู่ที่ : www.bit.ly/3EZlgBi
2.Script Code : www.github.com/Contribution-DAO/Celestia
3.Video ตัวอย่างในการทำ :
*** สามารถเข้ามามีส่วนร่วมได้ที่
1.Celestia Thai community https://t.me/celestiathailand
2.Celestia Discord
https://discord.gg/ZBJNYDzSVV
3.Celestia official
https://t.me/CelestiaCommunity
📍ติดตามพวกเรา contribution DAO ได้ที่
Facebook: https://www.facebook.com/contributiondao
Discord: https://discord.gg/contributiondao
Twitter: https://twitter.com/contributedao
Telegram: https://t.me/thaitalent
Github: https://github.com/Contribution-DAO