สรุป AMA Connext x Contribution DAO

เมื่อวันที่ 28 เมษายน ทาง Contribution DAO ได้จัด AMA ร่วมกับ Connext Network เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำงานของ Connext และเกี่ยวกับ Contributor Program โดยคนที่จะมาเป็นตัวแทนของทาง Connext นั่นคือ Arjun Bhuptani ผู้เป็น founder ของ Connext นั่นเองครับ

บทความนี้เราจะมาสรุปเนื้อหาของตัว AMA ที่จัดขึ้นครับ หากต้องการรับชมวีดีโอเต็ม สามารถรับชมย้อนหลังได้ที่นี่เลยครับ

ประวัติของ Arjun CEO ของ Connext

Arjun นั้นได้เริ่มเข้าร่วมในระบบนิเวศน์ของ Etheruem มานานแล้ว ซึ่งได้เริ่มสร้าง Connext มาตั้งแต่ ปี 2016 กับ Co-founder ที่ชื่อว่า Rahul ซึ่งสมัยปี 2016 นั้นเป็นช่วงที่ Cryptocurrency ยังไม่ได้เป็นที่รู้จักกันมากนักทำให้ในสมัยนั้นมีจำนวนของ developer ที่ไม่เยอะมาก ทำให้รู้จักกันเป็นอย่างดีกับ developer คนอื่นๆ เช่น Plasma ที่ตอนนี้มาทำ Polygon ทำให้ Arjun นั้นมี connection ที่ค่อนข้างดีในวงการนี้

What is Connext?

อย่างที่ทราบกันดีว่าปัจจุบันได้เกิด Layer 2 War ที่เราจะเห็นได้อย่างทั่วไป เช่น Optimism, Polygon, และ Arbitrum หรือไม่ว่าจะเป็น Chain ที่แยกออกมาทำเองอย่างเช่น Fantom แต่ในปัจจุบันเราไม่สามารถที่จะ Scale Blockchain อย่างเดียวให้ขึ้นไปได้เรื่อยๆ แต่ต้องทำให้การเรียกใช้งาน (Execution) นั้นทำงานขนานกัน ด้วยการสร้าง Chain ด้วยวิธี Layer 2 scaling

แต่ Layer 2 นั้นก็ยังมีปัญหาว่าควรเป็นในลักษณะ Roll-up หรือจะเป็นในลักษณะอื่นๆ ดังนั้นจึงต้องมาดูก่อนว่าคนส่วนใหญ่นั้นเชื่อในแบบไหนหรือชอบในการใช้งานแบบไหน ดังนั้น ในเมื่อมี Chain เกิดขึ้นมากมายการที่เราจะย้ายทรัพย์สิน จาก Chain นึงไปที่ Chain อื่นนั้นเราจะทำได้ยังไง? การที่เกิด Chain ขึ้นมากมายนั้นไม่ได้เป็นวิธีที่ดีเท่าไหร่เพราะนอกจากจะเพิ่มภาระให้กับ User แล้วยังเพิ่มภาระให้กับทาง Developer อีกด้วยในการพัฒนา dApps ให้ Interact ระหว่าง Chain ซึ่งทาง Connext ได้เห็นถึงปัญหาในส่วนนี้

สิ่งที่ Connext ได้ทำนั้นจะเป็นเหมือนเครือข่ายที่ซับซ้อน เป็นเหมือนกับ Layer ที่คอยเชื่อม Blockchain ทั้งหมดเข้าด้วยกัน ก็อาจจะเหมือนกับ Bridge อย่าง Axelar หรือ LayerZero ซึ่งในเชิงของการแก้ปัญหาอาจจะเหมือนกัน แต่ในเรื่องของวธีการจะไม่เหมือนกัน ซึ่งในปัจจุบัน การ Interoperability นั้นมีหลายแบบแต่สิ่งที่ทำให้ Connext นั้นเด่นของมาก็จะเป็นเรื่องของ Infrastructure ซึ่งจะแตกต่างจาก Axelar หรือ LayerZero ตรงที่ว่า Connext จะไม่ต้องมี Trust Assumption กับทางตัวเครือข่ายเอง เราไม่ต้องเชื่อใน Validator ซึ่งนี่เป็นสิ่งที่ทำให้ Connext โดดเด่นกว่าตรงที่ไม่ต้องใช้ Trust Assumption หรือความสมมติฐานในการเชื่อใจใครเลย

Connext ทำงานยังไง และ Nomad คืออะไร?

ใน Amarok upgrade อันล่าสุด ทาง Connext ได้ร่วมมือกับทาง Nomad โดยใช้ไอเดียของการทำ Optimistic Bridge ซึ่งการทำ Optimisitc bridge จะเป็ลักษณะที่เวลาที่การใช้งานธุรกรรม ตัวเครือข่ายจะเชื่อว่าธุรกรรมนี้ถูกต้องทันทีจนกว่าจะมีคนบอกว่าผิดในระยะเวลาหนึ่ง แต่ถ้าเกิดมีคนบอกว่าผิด transaction นี้จะผิดทันที

ไอเดียของ Optimistic นี้ใช้กลไกที่มีชื่อว่า Fraud Proof ซึ่งทาง Nomad ได้หยิบเทคโนโลยีนี้มาใช้เพื่อทำให้เครือข่ายสามารถตอบสนองระหว่างกันผ่าน Optimistic Bridge ได้ ในทางกลับกัน สิ่งที่ Connext ทำนั้นคือการ Bridge ผ่านโปรโตคอลที่ใช้ router ในการมอบสภาพคล่องบน Blockchain ต่างๆ

ล่าสุดนี้ Connext ได้มีการทำ mainnet upgrade ที่มีชื่อว่า Amarok upgrade ซึ่งจะทำให้สามารถส่งข้อมูลไปมาระหว่าง Chain ได้ ทาง Connext ได้นำตัว Communication Layer ของ Nomad ที่เป็น Fraud Proof มารวมเข้ากับ Liquidity Network ของทาง Connext มาต่อรวมกันเป็นเหมือนกับ Lego พอมารวมกันแบบนี้แล้วพอมีสอง Layer ที่มาทำงานร่วมกัน

จากตอนแรกที่ Nomad ต้องใช้เวลา 30 นาทีในการส่งต่อข้อมูลผ่าน Optimistic Bridge (ซึ่งตอนแรก 30 นาทีนี้มีเพื่อเช็คว่ามีใครไม่เห็นด้วยกับข้อมูลนั้นหรือไม่) แต่ปัญหานี้จะหมดไปเมื่อนำ Nomad มาเข้าร่วมกับ ตัว Router ของ Connext ซึ่งข้อมูลจากตัว Router ที่อยู่ Off-Chain สามารถยืนยันข้อมูลที่ถูกต้องจาก transaction ใน Nomad ทำให้จากต้องใช้เวลา 30 นาที ลดลงมาเหลือประมาณ 2 นาที ทำให้การสื่อสาระหว่าง Blockchain นั้นทำได้ดียึ่งขึ้น

ทั้งนี้ Nomad กับ Connext ไม่ใช่บริษัทเดียวกันแต่ Nomad นั้นเป็น Close parther กับทาง Connext

Router เหมือนกับ Validator ไหม?

Validator นั้นเป็นเหมือนสิ่งที่บ่งบอกว่า Network นั้นแข่งแกร่งแค่ไหน ถ้าสมมุติมี ถ้าเกิด 50% ของ Validator ทั้งหมดนั้นโกง Network ก็จะพังได้ แต่ในขณะเดียวกันต่อให้ 100% ของ Router ต้องการที่จะโกง ก็จะไม่สามารถทำให้เงินสูญหายไปได้ และนี้ก็เป็นจุดเด่นของ Connext เพราะเราแทบจะไม่ต้อง rely ในความชื่อใจ หรือ Trust Assumption เลย เพราะถ้า Router ทำการร่วมมือกันโกง ก็ไม่สามารถโกงเงินเราได้อยู่ดี เพราะได้ถูกออกแบบมาให้ไม่สามารถโกงได้

แต่ปัญหาในส่วนของ Scalability ยังเป็นที่น่ากัลวล เพราะปัจจุบันนั้น Connext ยังเป็นแบบ 1:1 โดยเมื่อไหร่ก็ตามที่ Router ได้ เกิดการขัดข้องหรือดับไปก็จะเกิดปัญหาได้ แต่ตอนนี้ทางทีมกำลังพัฒนาให้เป็น 1:N ด้วยตัว Amarok Upgrade และตอนนี้ได้มี Router จำนวนมากกำลังอยู่ใน waitlist เตรียมที่จะมาทำหลังจากการ Upgrade Network สำเร็จ

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน Router ก็จะมีข้อเสียคือต้องอาศัย liquidity จำนวนมาก แต่ปัญหานี้สามารถแก้ไขเบื้องต้นได้ด้วยการอาศัย smart contract มาร่วมกันสร้างกลไก delegate liquidity เหมือนกับที่เรา stake ETH ผ่าน Lido, Binance ได้เช่นกัน กล่าวคือเราสามาถใช้ smart contract เพื่อรวมเงินไปเปิด router ที่แชร์สภาพคล่องร่วมกันได้

Connext สามารถเชื่อมต่อไปทาง non-EVM chain ได้ไหม?

Connext สามารถที่จะเชื่อมต่อไปทาง chain ไหนก็ได้ โดยจะต้องมีนักพัฒนาใน chain นั้นๆมาเขียนโค้ดเพื่อเชื่อมต่อกับทาง Chain ปลายทาง แต่การเขียนโค้ดนั้นก็จะมีเกณฑ์พื้นฐานสำหรับภาษาที่สามารถเชื่อมกับ Connext ได้ เช่นภาษาต้องรองรับการเข้ารหัสแบบต่างๆ ซึ่งถ้าปลาย Chain สามารถทำได้ Connext ก็สามารถเชื่อมต่อได้หมดผ่านการเขียน smart contract นั่นเอง

แม้ทาง EVM เราจะไม่ต้องทำอะไรเยอะเพราะเวลาเราเขียนโค้ดใน EVM chain เราสามารถที่จะก็อปโค้ดของเราเพื่อไปใช้ใน EVM chain อีก chain นึงโดยที่ไม่มีปัญหาอะไร แต่สำหรับ non-EVM chain อย่าง StarkNet, Solana หรือเชนอื่นๆจะต้องมาไล่ logic ของ solidity ที่อยู่บน EVM แล้วมาเปลี่ยนให้มาลงใน non-EVM chain ได้ซึ่งตรงนี้อาจจะต้องใช้เวลา โดยทางทีม Connext นั้นไม่ได้มีความเชี่ยวชาญไปในทางส่วนของ non-EVM ดังนั้นจึงไปโฟกัสในส่วนของ EVM chain มากกว่า

ทาง Connext มีรางวัลให้กับคนที่ร่วมเขียนโค้ดเชื่อมต่อ Connext เข้ากับ non-EVM chain อื่นๆได้ด้วยเช่นกัน

จุดประสงค์ของ Contributor Program?

ทางทีมต้องการที่จะมีแรงจูงใจให้กับ Community โดยจะให้ reward กับคนที่ทำประโยชน์ให้กับทาง Ecosystem ของทาง Connext

โดยจะแบ่งออกเป็น 5 สายงาน ดังนี้

  1. Ambassador
  2. Moderator
  3. Content Creator & Education
  4. Router
  5. Builder

สามารถเข้าร่วมได้โดยไม่ต้องเป็น developer โดยสามารถเข้าร่วมในการสร้าง content ต่างๆ หรือช่วยตอบคำถามช่วยเหลือคนใน community ปัจจุบันได้มีคน KYC ผ่านแล้วประมาณ 5000 คน ซึ่งรอบแรกจะรับ 500 คน และในรอบอื่นๆจะรับเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่


ติดตาม Connext

ติดตาม Contribution DAO


เกี่ยวกับผู้เขียน

England

สวัสดีครับทุกคน เรียกผมว่าอิงแลนด์ก็ได้นะครับ ผมค่อนข้างเป็น Crypto Enthusiast เลยก็ว่าได้ครับและตื่นเต้นกับโลกการเงินในอนาคตมากๆ โดยการเขียนพวกนี้เหมือนเป็นการที่ผมได้ทบทวนความรู้ต่างๆ จึงอยากจะมาแชร์ให้กับทุกคนด้วยเหมือนกันครับ

chompk.eth

เป็น proofreader และคนคอยอ่านและเรียบเรียงบทความอีกรอบ ทำงานด้าน AI เป็นงานประจำและศึกษา crypto เป็นอาชีพเสริม มีความสนใจทั้งในด้าน AI และ blockchain และยังหลงไหลในแนวเพลง math rock เป็นพิเศษ งานอดิเรกคือการเล่นกีต้าร์ วิ่ง ฟังเพลง และ ทำงาน ทำงาน ทำงาน

Subscribe to ContributionDAO
Receive the latest updates directly to your inbox.
Verification
This entry has been permanently stored onchain and signed by its creator.