โปรเจค Sui - ครั้งแรกของระบบประมวลผลแบบ Parallel Execution บน Web 3.0

New Chain - New Hope ?

วันนี้เราจะมาดูโปรเจคเลเยอร์ 1 (L1) บล็อกเชนตัวใหม่กันอีกหนึ่งตัวที่ชื่อว่า Sui ซึ่งถูกพัฒนาโดย Mysten Labs ความพิเศษของมันก็คือมีความเร็วที่สูงมาก โดยทดสอบกับ M1 Macbook Pro ที่มี 8 core สามารถทำการส่งโทเคนได้ด้วยความเร็ว 120,000 ธุรกรรมต่อวินาที เท่านี้ยังไม่พอ Sui ยังสามารถเพิ่มความเร็วให้เร็วมากกว่านี้ได้อีกด้วยการสเกลแบบ Horizontally! รวมทั้งยังมีการใช้ Move เป็นภาษาสำหรับเขียน Smart Contract ซึ่งเป็นภาษาที่ได้รับการพัฒนาโดย Facebook เป็นเจ้าแรก ซึ่งช่วยให้ Smart Contract มีความปลอดภัยและช่วยป้องกันปัญหาอย่างพวก Reentrancy, Vulnerability, Poison Token และ Spoof Token ที่เคยสร้างความเสียหายมากมายให้แก่วงการคริปโตมาแล้ว สิ่งที่ทำให้ Sui สามารถสเกลได้ดีแบบนี้เนื่องมาจากการแยก Mempool (Data Availability ก็อยู่ในส่วนนี้) กับ Consensus แยกเป็นสองเลเยอร์ ชั้น Mempool จะใช้โมเดลที่ชื่อว่า Narwhal และชั้น Conensus คือ Tusk การแยกแบบนี้ทำให้ Narwhal นั้นยังสามารถนำไต่อกับ Consensus อื่นๆ ได้เช่น Tendermint และตอนนี้ก็กำลังดำเนินการที่จะรวมเข้ากับโปรเจคบล็อกเชนชื่อดังอย่าง Celo และ Sommelier อีกด้วย

How Sui it Work ?

เพื่อไม่ให้โพสต์นี้ลงไปในเทคนิคคอลจนเกินไปเราจะขอเกริ่นคร่าวๆ ถึงหลักการทำงานและการสเกลของเจ้าบล็อกเชน Sui ว่าทำได้อย่างไร และนำไปต่อยอดอะไรได้บ้าง การทำงานของบล็อกเชนทั่วๆ ไปจะนำเอาธุรกรรมมารวมๆ กันและทำ Ordering หรือจัดลำดับก่อนแล้วจึงนำมาดำเนินการ เมื่อบล็อกนั้นเต็มเราก็ต้องรอธุรกรรมของเราในบล็อกถัดๆ ไปถึงจะประมวลผลได้ แต่เนื่องจากธุรกรรมส่วนใหญ่มันไม่เกี่ยวข้องกันเลยทำไมเราถึงจะต้องมานั่งจัดลำดับแล้วรออีกหละ?

  • 1.Alice ส่งเงินให้ Bob ส่วน Carol กับ Dave ก็เล่นเกมส์ด้วยกันโดยใช้ NFT เป็นตัวเชื่อม ซึ่งจะเห็นว่าทั้งสองธุรกรรมนี้ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกันเลย
  • 2.เมื่อทั้งคู่ทำธุรกรรมใหม่ ตัวธุรกรรมที่ไม่ขึ้นต่อกันก็จะถูกผลักไปยังบล็อกถัดๆ ไปทำให้เกิดความล่าช้า ถ้าดูในรูป ธุรกรรมแรกกับธุรกรรมที่ 3 นั้นเกี่ยวข้องกันคือ Alice ส่งเงินให้ Bob แล้ว Bob ส่งเงินกับมาให้ Alice แต่กับถูกดำเนินการหลังจากธุรกรรม NFT ของ Carol กับ Dave (อันที่ 2) แทนที่จะถูกดำเนินการไปเลย

“แต่ใน Sui ข้อมูลที่ต่างกันจะถูกดำเนินการแยกกัน จึง ทำให้ธุรกรรมที่ไม่ขึ้นต่อกันไม่ต้องถูกจัดลำดับแต่สามารถดำเนินการขนานหรือ Parallel กันไปได้เลย (แต่สำหรับธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับ Order หรือมีลำดับเข้ามาเกี่ยวข้องยังคงต้องรอตามคิวอยู่แต่ก็ยังสามารถดำเนินการคู่ขนานกันไปกับธุรกรรมที่ไม่เกี่ยวข้องกันได้)”

  • 3.เนื่องจาก Alice กับ Bob และ Carol กับ Dave นั้นไม่เกี่ยวข้องกัน ใน Sui สามารถ “ดำเนินสองธุรกรรมพร้อมๆ กันได้เลย”

Scale 1000x with Sui .

อย่างที่กล่าวมาข้างต้นทั้งหมด ทำให้ Sui สามารถสเกลได้อย่างดีเยี่ยม เท่านั้นยังไม่พอถ้าคุณยังอยากให้ Sui สามารถสเกลได้มากกว่านี้หละก็ สามารถทำได้ผ่านการสเกลแบบ Horizontal โดยให้ Validator แต่ละคนเพิ่มจำนวน Worker (หรือคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการทำงาน) ได้ สิ่งนี้ทำให้การดำเนินการสามารถถูกกระจายแบบ Parallel เพิ่มขึ้นไปได้อีก (เหมือนมีคนช่วยทำงานขนานกันไปมากขึ้น) จึงทำให้ Sui ยังสามารถสเกลได้ตามจำนวน Worker ที่ Validator นั้นมีอยู่ได้อีกด้วย ยังไม่หมด! Sui เหมือนเป็นลูกผสมระหว่าง UTXO Model กับ Account Model สถานะของ Sui เหมือนเป็นแหล่งเก็บรวบรวมสถานะของ Object เอาไว้ (ตัวอย่าง Object ใน Sui คือ โทเคน, DEX, NFT etc.) โดยมีการใช้ภาษา Move และใช้รูปแบบ Object centric ช่วยให้ Object ต่างๆ ใน Sui สามารถถูกโปรแกรมได้ สามารถอัพเดท ถูกสร้าง ถูกทำลาย ได้ผ่านธุรกรรม (ทำลายใน Sui คือทำให้หายไปเลยคือถูกทำลายไปจริงๆ ไม่ใช่ถูก Burn แบบในบล็อกเชนทั่วๆ ไปที่ทำโดยส่งไปยังกระเป๋าที่ไม่สามารถใช้งานได้) ช่วยให้การใช้งานหรือทำงานร่วมกันของ Object เหล่านี้ทำได้ง่าย

มาดูว่า Sui ทำอะไรได้บ้าง

  • สร้าง Dynamic NFT (NFT ที่มีการเปลี่ยนแปลงได้) อัพเกรด NFT ของคุณได้ หรือจะ Composable NFT ทำให้ NFT สามารถทำงานหรือโต้ตอบกันได้ก็ย่อมเป็นไปได้
  • ทำให้ DeFi แบบ On-chain มีความ Real Time มีความล่าช้าที่ต่ำสำหรับการเทรด
  • สามารถออกแบบ Logic ของ Game ที่มีความซับซ้อน มีความโปร่งใส และมีฟังก์ชันที่หลากหลายได้
  • จะสร้าง Social Media แบบ Decentralized ไม่ว่าจะโพสต์ จะแชร์ หรือจะไลค์ก็ทำได้
  • ด้วยค่าธรรมเนียมที่ถูก (มาก) ทำให้คนสามารถเข้าถึง แอพพลิเคชัน (ไม่ว่าจะ Game หรือ DeFi), NFT ต่างๆ ได้ง่ายขึ้น จะแอร์ดรอปหรือส่งเงินให้คนจำนวนมากๆ ก็ไม่ใช่ปัญหาเลย
  • และอื่นๆ อีกมากมาย

มีกิจกรรมสุดพิเศษที่ชื่อว่า Knowledge bounty Series เพื่อยกระดับ Contributor ให้มี Skill ด้าน IT มากขึ้น เช่น สอนการ run node ของทุกๆโปรเจค รวมถึงอธิบายหลักการทำงานของโปรเจคที่น่าสนใจ ออกมาในรูปแบบที่เข้าใจง่าย

ซึ่ง Mysten Labs - Sui เราก็ได้มี Knowledge Bounty ออกมาแล้ว 2 tasks ด้วยกัน [กำลังจะมี task อื่นๆ เพิ่มเข้ามา]

Mysten Labs - Sui Knowledge Bounty.

1.Creating Foundational Infrastructure For Web 3.0 (ฺBeginner)

2.Testnet run + validator (เรามี Tutorial + Script ให้ทำตามได้ 100%)

สามารถเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ Sui ได้ที่นี่
https://docs.sui.io/learn

ติดตาม ContributionDAO ได้ที่

WebSite: www.contributiondao.com

Facebook: https://www.facebook.com/contributiondao

Discord: https://discord.gg/contributiondao

Twitter: https://twitter.com/contributedao

Telegram: https://t.me/thaitalent

Github: https://github.com/Contribution-DAO

Subscribe to ContributionDAO
Receive the latest updates directly to your inbox.
Verification
This entry has been permanently stored onchain and signed by its creator.