สวัสดีครับผู้อ่านทุกๆท่าน
ยินดีต้อนรับทุกๆท่านเข้าสู่ Series เรียนรู้ AI บน Crypto อย่างเป็นทางการครับ ในปัจจุบันเราเริ่มเห็นการเพิ่มขึ้นของโปรเจค AI ใหม่ๆบนคริปโตมากขึ้นเรื่อยๆ จนอาจจะเริ่มจับต้นชนปลายไม่ถูกแล้ว ในบทความ Series นี้ ผมขออนุญาตนำเสนอโปรเจค AI ต่างๆที่ผมคิดว่ามีความน่าสนใจและควรค่าที่จะศึกษาไว้ครับ
สำหรับโปรเจคที่ห้า เป็นโปรเจคมี vision ในการสร้าง ecosystem ที่มีระบบ incentivize ให้นักวิจัย, นักพัฒนา และ ผู้ใช้งาน เข้ามาทำงานร่วมกันและแข่งขันกันพัฒนา Artificial General Intelligence (AGI) บน open platform โปรเจคนี้มีชื่อว่า Sentient ครับ
หมายเหตุ:
บทความนี้ไม่ได้เป็นการชี้ชวนให้ล่า airdrop แต่อย่างใด
Sentient = มีความรู้สึก
Sentient ถูกก่อตั้งโดย
Sandeep Nailwal - Polygon Founder
Pramod Viswanath - รายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่
Himanshu Tyagi - รายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่
Sentient กล่าวว่า ปัจจุบันการทำ service AI models นั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 paradigms หลักได้แก่
Open - โดยฝั่งผู้พัฒนา สามารถนำ model มา upload บน server เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถ download และ run model แบบ local ได้ ในขณะที่ฝั่งผู้ใช้งานสามารถใช้ model ที่มีความโปร่งใสได้อย่างอิสระ ฝั่งผู้พัฒนากลับต้องยอมเสียสละความเป็น ownership ทำให้ไม่สามารถ monetize รวมถึงการทำ control การใช้งานที่ผิดศีลธรรม
Closed - ยกตัวอย่างเช่น การใช้งาน ChatGPT ผ่าน API ซึ่งฝั่งผู้พัฒนาสามารถควบคุบมาตรการด้านความปลอดภัย แต่ทำให้มี concern ในเรื่องของ
การ monopoly
พฤติกรรม service ปล่อยเช่า model (e.g. subscription) ซึ่งฝั่งผู้ใช้งานมักไม่มีอำนาจในการเลือกการใช้งาน
privacy
API เช่น การแอบปรับ input/output หรือแม้กระทั่งการแอบเปลี่ยน model หลังบ้าน
โดยทาง Sentient ย้ำว่าเทคโนโลยี AI ที่เราเห็นกันในปัจจุบันล้วนเกิดขึ้นจากการร่วมมือกันผ่าน contributions แบบ open-source เช่น โมเดล BERT รวมถึงโมเดล GPT เองก็ตาม จนกระทั่งเมื่อมาถึงจุดที่ AI เริ่มอิ่มตัวและศักยภาพในเชิงของเศรษฐกิจที่จะได้จากการใช้งาน AI เริ่มชัดเจนมากขึ้น บริษัทยักษ์ใหญ่จึงเริ่มที่จะพยายาม dominate ตลาด ผ่านการเปลี่ยนมาพัฒนาโมเดลแบบ close-source ทำให้เมื่อเวลาผ่านไป จะมีคนเพียงไม่กี่หยิบมือเท่านั้นที่จะได้พัฒนา AI ต่อ เป็นการทอดทิ้งนักพัฒนา AI จำนวนมาก โดยเฉพาะ contributors ที่ช่วยพัฒนา AI ในช่วงแรกเริ่มที่คงจะรู้สึกว่าไม่ยุติธรรม อีกทั้งยังเป็นการบีบให้ผู้เล่นอื่นๆกลายเป็นเพียง high-level users เท่านั้น สิ่งเหล่านี้เป็นการขัดขวางการเกิดนวัตกรรมใหม่ๆ อีกทั้งทำให้อนาคตของ AI นั้นถูกขับเคลื่อนไปตาม business และ การเมืองจากบริษัทเหล่านี้
ทาง Sentient จึงมี mission ที่จะ democratize การพัฒนา AI บน Sentient Platform ที่ open และ collaborative โดยนำเสนอ format ใหม่ที่ทาง Sentient มองว่าเป็นคุณสมบัติของ AI models ที่ควรคือ OML (Open, Monetizable และ Loyal)
ผู้อ่านสามารถอ่านรายละเอียดเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่าง AI และ AGI ได้ที่นี่ โดยปัจจุบัน ความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนมองว่าเรากำลังอยู่ในช่วงก้าวแรก Stage 2 ของ AI จากการมาของ OpenAI-o1 (ข่าวลือ: จริงๆคือ ChatGPT4 with Reasoning) และอยู่ในช่วงที่กำลังพยายามก้าวสู่ Stage 3 ให้ได้อย่างสมบูรณ์
เนื่องจากในปัจจุบัน ผู้เขียนเองก็เริ่มเห็นโปรเจคคริปโตต่างๆใช้คำว่า AI Agents กันเกลื่อนมากขึ้น (ทำความเข้าใจคำว่า Agents เบื้องต้นได้ที่นี่) ไว้โอกาสดีๆผู้เขียนจะมาอธิบายเพิ่มเกี่ยวกับคำนี้ในบทความถัดๆไป
ในปัจจุบัน Sentient สามารถ raised fund ได้ทั้งสิ้นถึง 85 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ
ทาง Sentient มองว่า AI ควรคงความ open ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ได้ จึงนำเสนอการใช้ cryptography primitive รูปแบบใหม่ในการทำ format โมเดล M
ให้อยู่ในรูปแบบของ M.oml
โดย
Open - ทุกคนต้องสามารถ access ได้, ตัวโมเดลจำเป็นต้องเสียสละความโปร่งใสไปส่วนนึง (เพื่อ monetize, loyalty)
Monetize - ตัว M.oml
สามารถที่จะทำงานได้ก็ต่อเมื่อตัว input นั้นถูก authorized จากเจ้าของโมเดลแล้วเมื่อมีการชำระเงินเกิดขึ้น
Loyal - ตัว M.oml
สามารถที่จะทำงานได้ขึ้นกับการ approval จากเจ้าของโมเดลเพื่อที่จะรักษาสิทธิในการดูแลเรื่องความปลอดภัยและศีลธรรม
Overview
Sentient Protocol ต่างกับ AI Platform ในปัจจุบัน ที่มีการสร้าง close-loop ในการ incentivize ผู้พัฒนาผ่านทุกๆการใช้งานและการ download AI model จากผู้ใช้งาน
ซึ่งตัวโปรโตคอลจะต้องมีคุณสมบัติเบื้องต้นเหล่านี้
Open Models - ทุก model จะต้องสามารถ download ได้
Decentralized Control - การ access ถึง model สำหรับ download และการมี permission ในการใช้งาน ต้องไม่ถูกควบคุมด้วยคนเฉพาะกลุ่ม
Trust-free Monetization - การ authorize contributution ของผู้พัฒนา และการแจกแจง reward ที่ได้จากการใช้งานจากผู้ใช้ จะต้องเกิดขึ้นแบบปลอดภัยและปราศจาก trust assumptions
โดย Sentient Protocol วางตัวเป็น blockchain-based solution สำหรับ AI models และเพื่อที่จะทำความเข้าใจตัวโปรโตคอลในเบื้องต้น เราจะมาทำความรู้จักกับคำว่า AI Artifacts กันก่อน
AI Artifacts
โดยทาง Sentient ให้นิยาม artifacts ว่าเป็น software objects ที่รวบรวม model, data, code และ components ที่เกี่ยวข้องโดยผู้พัฒนา ซึ่ง artifacts เหล่านี้สามารถถือครองได้โดย individuals, organizations รวมถึงเหล่า AI agents เองก็ตาม ซึ่ง artifacts เหล่านี้สามารถเป็นเจ้าของร่วมกันได้
Participants
Sentient จะประกอบด้วยผู้เข้าร่วมสองกลุ่มหลักคือ
User (ผู้ใช้งาน)
ใช้งาน AI artifacts ผ่าน
การซื้อ/download ซึ่งจะมี acees สำหรับ model weight, artifact metadata สามารถ custome ได้
การใช้งานผ่าน query เสมือนใช้งาน black-box access
Builders (ผู้พัฒนา)
submit AI artifacts บนโปรโตคอล
เพื่อเชิญชวนการทำ open contribution
แบ่งปัน ownership
upload model ใหม่
contribute model ที่มี เพื่อทำ version ใหม่/upgrade
compose artifacts เพื่อ create model ใหม่
Layers
Sentient Protocol ประกอบด้วย 4 Layers หลักได้แก่
Storage Layer - มีหน้าที่เก็บ AI artifacts
Distribution Layer - มีหน้าที่ convert AI artifacts ให้เป็น OML format
Access Layer - มีหน้าที่ทำ authorize/track การ query/download model จาก users
Incentivize Layer - มีหน้าที่ incentivze ผู้พัฒนา
ซึ่งในบทความนี้ เราจะยังไม่เจาะลึกเกี่ยวกับรายละเอียดของแต่ละ Layer ผู้อ่านสามารถไปศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Whitepaper ครับ
อ่าน Whitepaper รอ
กรอกฟอร์ม Waitlist
ลงทะเบียนร่วมงาน Open AGI Summit ที่นี่
ติดตามช่องทาง Social ต่างๆ
Main Website: https://sentient.foundation/
Twitter: https://x.com/sentient_agi
Discord: https://discord.com/invite/PeqSaXNe
Telegram: https://t.me/+9hVj38meLXllMzNh
สมัครสมาชิก Forum: https://openagi.discourse.group/
มีส่วนร่วมใน ใน Forum, ติดตาม Sentient บน Twitter
กรอกฟอร์ม Early Access
contribute ผ่าน model development จากการกรอกฟอร์มในข้อ 2
กดติดตาม Twitter Open AGI Submit เพื่อมีส่วนร่วมใน community events ต่างๆ
โดยปกติแล้วผู้เขียนจะเลือกไม่เขียนโปรเจคที่ยังไม่มี product มาให้ทดลองใช้งาน แต่ด้วยจำนวนเงินที่โปรเจคนี้สามารถระดมทุนได้ อีกทั้งผู้เขียนเห็นเหล่า Contributors ในโปรเจคนี้ โดยเฉพาะฝั่ง Committee ผู้เขียนจึงมองว่าน่าจะสามารถเขียนรายละเอียดเกี่ยวกับโปรเจคนี้ไว้ก่อนได้ เพื่อมาแนะนำให้เพื่อนๆได้รู้จักกันมากขึ้นครับ
โดยในบทความนี้ ผู้เขียนได้ทำการสรุปสิ่งที่ผู้เขียนได้จากการอ่าน Whitepaper เป็นหลัก อ่านแล้วก็นึกถึงสมัยเรียนมหาลัย ซึ่งข้อดีของการได้อ่าน paper คือ insights เชิงลึก และบางสิ่งที่อาจไม่เห็นเมื่ออ่านบน blog เช่น limitations ของโปรเจคนั้นๆ (โดยเฉพาะหน้าทวิตมีแต่กาว 555+)
โดยในบทความนี้ เราจะยังไม่พูดถึงรายละเอียดของ OML 1.0 จนกว่าจะได้เห็น Product คร่าวๆของทาง Sentient ซึ่งผู้อ่านสามารถไปอ่านใน Whitepaper ต่อได้ ผู้เขียนหวังว่าผู้อ่านทุกๆท่านจะได้ไอเดียคร่าวๆว่าโปรเจคนี้ต้องการ contribute อะไรให้กับฝั่ง AI ครับ
Sentient จึงเป็นอีกโปรเจค A(G)I Blockchain ที่ผู้เขียนเห็นว่าควรติดตามเป็นอย่างยิ่ง
ไว้เจอกันในบทความถัดไป และพบกันที่งาน Open AGI Submit ครับ