สวัสดีครับผู้อ่านทุกๆท่าน
เนื่องในโอกาสที่ Morph เปิดโอกาสให้สมัคร Ambassador Program ผ่าน Google Forms ผมจึงขอโอกาสมาเขียนเกี่ยวกับโปรเจค Morph เพื่อให้เพื่อนๆมาทำความรู้จักกันเพิ่มเติมครับ
หมายเหตุ: ไม่ใช่คำแนะนำเพื่อการลงทุนและล่าแอร์ดรอป โปรดศึกษาก่อนตัดสินใจใช้งานคริปโต #NFA
Morph เป็นหนึ่งในโปรเจค L2 บน Ethreum ที่มีจุดเด่นหลักคือการเลือกทำ Network ของ Decentralized Sequencer และการใช้ Responsive Validity Proof (RVP) ซึ่งพัฒนามาจากการรวมข้อดีของทั้ง OP rollups และ ZK rollups โดยสิ่งที่ทำให้ Morph เป็นโปรเจค L2 ที่ควรจับตามองอย่างยิ่งคือการที่ได้ Bitget มาลงทุนหลักล้านกับโปรเจคนี้ (อ้างอิง)
ปัจจุบัน Morph สามารถระดมทุนรอบ Seed Round ได้ถึง 20 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ
เราคาดว่าจะเห็น Morph มีแผน Mainnet ภายใน Q3 ปีนี้ ซึ่งจากการสอบถามใน Discord เพิ่มเติม ได้คำตอบมาว่า TGE จะเกิดขึ้นหลังจาก Mainnet
ในส่วนนี้ เราจะทำการสรุปใจความสำคัญจากบทความใน documentation
เพื่อไม่ให้บทความของเราเยิ่นเย้อจนเกินไป เราขออนุญาตให้ผู้อ่านสามารถไปลองหารายละเอียดในส่วนที่ท่านสนใจเพิ่มเติมต่อใน doc ได้เลยครับ
จากแผนภาพด้านบน Morph จะสามารถแยกส่วน Morph ตาม Modular Structure ออกเป็น 3 ส่วน (Module) ดังนี้
Sequencer: Consensus, Execution
Optimistic zkEVM: Settlement
Rollup: Data Availability
ในส่วนนี้ Morph ได้เกริ่นคำอธิบายถึง Sequencer ไว้ว่าเป็นส่วนที่ทำหน้าที่จัดเรียงธุรกรรมบน L2 ซึ่งถ้าหากตัว Sequencer นั้นมีความ centralized ล่ะ บอกเลยว่าจะต้องเจอกับปัญหาอีกมาก อาทิ transaction censorship ที่มากจนเกินควร, การผูกขาด MEV รวมถึงปัญหาจากการเกิด Single Point of Failure บน Sequencer จนตัว L2 ทำงานต่อไม่ได้เพียงเพราะว่ามี Sequencer แค่ตัวเดียว สิ่งที่ Morph เลือกทำคือการทำ Sequencer Network = มี Sequencer หลายตัว โดย Morph’s Sequencer Network นั้นจะประกอบด้วยสองส่วนคือ
Sequencer Set: เป็นส่วนหลักในการทำ services ต่างๆที่เกี่ยวกับการ sequencing
Sequencer Staking Contract: เป็นส่วนที่ช่วยในการเลือก sequencer set ผ่านกระบวนการเลือกตั้ง
ซึ่งตัว Morph’s Sequencer Network จะมีคุณสมบัติต่างๆดังนี้
มีความ modularity = สามารถแยกประกอบเพื่อนำมาพัฒนาเป็นส่วนๆได้
มี Byzantine Fault Tolerant (BFT) consensus = ระบบทำงานต่อได้แม้ว่ามีบางจุดที่ fail
มี BLS Signature สำหรับการทำ Batch Signing = cost ของการ upload signatures นั้นจะคงที่ไม่เปลี่ยนตามจำนวน sequencer ที่เพิ่มขึ้น
ในส่วนนี้ Morph ได้เกริ่นคำอธิบายไว้ว่า หลักการทำงานของโปรเจค L2 ต่างๆคือการที่จะต้องทำมั่นใจว่าสถานะต่างๆ (state) บน L2 นั้นจะต้องถูกยืนยันบน L1 ซึ่งสำหรับ
ZK rollups จะเรียกว่า zkEVM
OP rollups จะเรียกว่า fraud proof
สิ่งที่ Morph เลือกทำเรียกว่า Optimistic zkEVM โดยการใช้ Responsive Validity Proof (RVP) ซึ่งหลักการคร่าวๆคือการนำ validity proof มารวมเข้ากับ OP rollup โดยผลลัพธ์สุดท้ายนั้น Morph จะมีคุณสมบัติดังนี้
มี challenge period ที่สั้นลงเหลือ 1-3 วันจากปกติที่ 7 วัน
สามารถลดค่า L2 submission ได้เป็นอย่างมาก
เป็นมิตรกับกลุ่ม challengers มากขึ้น (กลุ่มที่มา verify ช่วง challenge period)
ทำให้การเปลี่ยนผ่านไปสู่ ZK-rollup ทำได้ง่าย สิ่งที่ต้องทำคือการเปลี่ยน sequencer's ZK-proof submission methods จาก responsive เป็น active
มาถึงจุดนี้แล้ว ผู้อ่านหลายๆท่านน่าจะเกิดคำถามว่าทำไม Morph ถึงไม่เลือกทำเชนเป็น zk rollup เลย สรุปสั้นๆที่ผู้เขียนเข้าใจคือทาง Morph มองว่าปัจจุบันเทคโนโลยี zk ยังไม่พร้อมครับ โดยเขาได้ให้รายละเอียดใน doc ว่าด้วยการทำ RVP สามารถเปลี่ยนเป็น zk-rollup ในภายหลังได้ทันที ซึ่งก็ฟังดูน่าสนใจดีครับ
Note: ณ ปัจจุบัน zk rollup ถูกมองว่าเป็นปลายทางของ L2 ที่ควรจะเป็น
Homework: ความหมายของ Responsive คืออะไร
โดยภาพรวม Morph เป็นอีกโปรเจคที่ผมเห็นว่าเขาเขียน documents ได้แบบละเอียดสุดๆ อ่านเพลินๆและได้เห็นความใส่ใจของทีมที่มี interact กับ community อยู่ตลอดทั้งในทวิตเตอร์และดิสคอร์ด ผมจึงขอแนะนำให้ทุกๆท่านลองมีส่วนร่วมกับ Morph ดูสักครั้ง อาจจะเป็นในรูปแบบของการลองใช้งาน testnet ช่วงนี้ก็ไม่เสียหายอะไรเลยครับ :)