"The Meaning of Decentralization" -Translator's Note

The Meaning of Decentralization [ความหมายของการกระจายศูนย์]
ผู้เขียน: วิทาลิก บิวเทอริน (Vitalik Buterin)
บทความต้นฉบับตีพิมพ์เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2017
อ่านความเรียงภาคภาษาไทยที่เราแปลไว้ได้ที่นี่
อ่านความเรียงต้นฉบับภาษาอังกฤษได้ที่นี่


คำนำผู้แปล

ว่าด้วยคำว่า “กระจายศูนย์”

เราตัดสินใจเลือกแปลความเรียงนี้เป็นชิ้นแรก เพราะว่าประเด็นเรื่อง “Decentralisation” มันเป็นเรื่องที่เราเคยคิดว่าเราเข้าใจอย่างดี คอนเซ็ปต์มันดูเรียบง่ายมาก แต่หลังจากล้มจากลูน่าเราก็รู้เลยว่าเราไม่เข้าใจมันเลยสักนิด! [ช้านไปหลงเชื่อว่า LUNA/UST ที่มีโดควอนกำกับขนาดนั้น มัน decentralised ได้ยังไงก๊อน] ความเรียงนี้ มันทำให้เราเห็นภาพมากขึ้นเลยว่าคำว่า “Decentralisation” มันคืออะไร ความเรียงนี้ไม่ได้บอกว่าโหนดมากแค่ไหนถึงเรียกว่ากระจายศูนย์ ไม่ได้มีตัวเลขที่จับต้องได้ แต่วิทาลิกเสนอให้เห็นภาพกว้างๆ ผ่านเกณฑ์ในด้านต่างๆ ที่เราต้องเก็บไปพิจารณาเสียมากกว่า ทุกการตัดสินใจ (อย่างน้อยก็เท่าที่ทุกคนคิดออกตอนนี้) มันจะตามมาด้วยการแลกอะไรบางอย่าง แต่สุดแล้วแต่ว่าอะไรที่คนในชุมชนเห็นว่าสำคัญเสียมากกว่า

เราเลือกที่จะใช้คำว่า “การกระจายศูนย์” แทนคำแปลอื่นๆ เพราะเรารู้สึกว่า Decentralisation มันค่อนข้างเป็นสเปกตรัมเหมือนกัน คำว่าไร้ศูนย์กลาง หรือปราศจากศูนย์กลางมันเกิดขึ้นได้ในโลกความจริงหรือเปล่าก็ไม่รู้ และเรารู้สึกว่าคำว่า “กระจาย” มันได้อารมณ์ของกระบวนการที่ต้องทำต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ดี เพราะในความรู้สึกของเราเอง เรารู้สึกว่า Decentralisation มันเป็น “เกมที่ไม่มีวันสิ้นสุด” (infinite game) ที่ต้องทำไปเรื่อยๆ และต้องทำพร้อมกันหลายๆ ด้าน มากกว่าจะเป็นเกมที่มีเส้นชัยและมีจุดจบอย่างชัดเจน

บริบท

ความเรียงนี้ถูกเผยแพร่ผ่านบลอคของวิทาลิกเองเมื่อช่วงต้นปี 2017 นับว่าเป็นช่วงที่อีเธอเรียมกำลังขึ้นสองขวบพอดี ซึ่งยังเป็นประมาณครึ่งปีหลังจาก The DAO Fork ที่กลายเป็นเหมือน “บาปติดตัว” ของอีเธอเรียมที่ยังคงเป็นประเด็นที่อีเธอเรียมถูกวิพากษ์วิจารณ์มาจนถึงวันนี้ ถึงแม้วิทาลิกจะไม่ได้เอ่ยถึงตรงๆ แต่ก็ได้แปะลิงค์ข่าวของเรื่องนี้ไว้ในความเรียงนี้อีกด้วย นอกจากนี้ ช่วงเวลาการปล่อยบทความเป็นช่วงที่ของ Block Size War ซึ่งเป็นการถกเถียงเรื่องขนาดบล็อกของบิตคอยน์ (อื้อฉาวสมัยนั้นแค่ไหน เราก็ไม่รู้นะเพราะเรายังไม่เข้ามาแต่ที่แน่ๆ คือมีหนังสือเกี่ยวกับประเด็นนี้โดยเฉพาะออกมาสองเล่ม) อีกอย่างที่สำคัญมากๆ ก็คือ ในช่วงต้นปี 2017 เป็นช่วงเริ่มต้นของ ICO Mania ที่มีการปล่อยเหรียญ ปล่อยเชนใหม่ๆ ออกมาในช่วงเวลานั้นเต็มไปหมด

Layer 0

อีกเลเยอร์ที่สำคัญมากๆ สำหรับเราคือ Layer 0 - ซึ่งคือเลย์เยอร์สังคม ที่เราชอบมากๆ ที่เดวิด ฮอฟท์แมนได้กล่าวไว้ว่า ”คริปโตถูกสร้างขึ้นด้วยโค้ด และเขียนโดยผู้คน” [”Crypto is built by code and composed by people.”] มันคล้ายๆ กับเวลาเราทำรีเสิร์ชเกี่ยวกับชิ้นงานศิลปะสักชิ้น การเข้าใจที่มาที่ไปของศิลปิน และบริบททางสังคมในช่วงเวลานั้น มันทำให้เห็นนะว่าทำไมเขาถึงตัดสินใจทำแบบนี้ การออกแบบโพรโทคอลที่เป็นสมาร์คอนแทรคแบบอีเธอเรียมเองก็ไม่ต่างกัน มันคือการตัดสินใจที่จะออกกฎต่างๆ ออกมา ทำไมเลือกทำแบบนี้ ทำไมไม่ทำแบบนั้น เหตุผลมันมากจากไหน อาจจะทำให้เราเห็นภาพได้ชัดเจนมากขึ้นก็ได้ เพราะอย่างไรก็ดีเรื่องทั้งหมดนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยถ้าปราศจากมนุษย์ที่คิดค้นและเขียนโค้ดค่ะ

การแปล

ด้วยความที่วิทาลิกมาจากแบคกราวน์ของการเป็นนักวิทยาการคอมพิวเตอร์ วิทาลิกจึงมักจะใช้การเปรียบเปรยและศัพท์เทคนิคที่อิงมาจากโลกของวิทยาการคอมพิวเตอร์และยังเคยเป็นนักโต้วาทีสมัยเรียนอีก เราไม่ได้มีแบ็คกราวน์เกี่ยวกับเทคอะไรเลย ความเรียงนี้เลยยากมากสำหรับเราที่จะสามารถเก็บดีเทลเล็กๆ น้อยๆ ไว้ได้ทั้งหมด

เหตผุลที่เลือกแปลทั้งบทความแทนการสรุปเหมือนบทความอื่นๆ เพราะเราค้นพบว่าการแปลมันบังคับให้เราต้องนั่งใช้เวลากับตัวเท็กซ์จริงๆ และทำให้รู้ว่าการอ่านไปแค่รอบเดียว เราเอาความเข้าใจของเราไปตีความเท็กซ์จนอ่านประเด็นผิดแบบที่เราไม่รู้ตัว! กลับมาเห็นตอนอีดิทรอบสองแล้วว่าเข้าใจผิดไปเยอะเลย ท่านี้เล่นไม่ง่ายสำหรับมือใหม่ (หัดแปล) และอาศัยความถึกมากเพราะต้องอีดิทกันหลายรอบ [เราอีดิทไปหลายรอบแล้ว แต่อาจจะยังมีจุดผิดแน่ๆ] แต่ยังไง เราแนะนำเลยสำหรับใครที่อยากทำความเข้าใจลึกๆ กับเรื่องอะไรนะคะ

หลักการในการเลือกบทความมาแปล ตอนนี้บอกได้เลยว่าไม่มี ทำตามความรู้สึกล้วนๆ ไม่ได้ตั้งใจจะแปลหรือเขียนถึงแค่อีเธอเรียมด้วย มันแค่สนุกที่จะได้ทำความเข้าใจเรื่องต่างๆ แต่เราก็คิดว่าในอนาคตคงจะมีประเด็นอื่นๆ ที่เราจะพูดถึงด้วย เช่น Generative art ที่เราค่อนข้างเลิฟมากในช่วงนี้

Subscribe to Nucha Nucha
Receive the latest updates directly to your inbox.
Verification
This entry has been permanently stored onchain and signed by its creator.