สรุป: บทสัมภาษณ์มาร์ค แอนดรีสเซน (Marc Andreesen) และคริสดิกซ์สัน (Chris Dixon) แห่ง a16z จากพอดแคสท์ Bankless

💁‍♂️ แขกรับเชิญ

มาร์ค แอนดรีสเซน (Marc Andreesen), a16z

มาร์ค แอนดรีสเซน ถือเป็นหนึ่งในสุดยอด OG ของโลกอินเตอร์เน็ต แอนดรีสเซนตบเท้าเข้ามาในอุตสาหกรรมอินเตอร์เน็ตตั้งแต่ช่วงรุ่งอรุณของ Web 1.0 ในฐานะผู้ร่วมก่อตั้ง Mosiac และ Netscape เว็บเบราว์เซอร์รุ่นแรกที่เคยครองตลาดในช่วงปี 1990s กล่าวได้ว่าแอนดรีสเซนเป็นหนึ่งในกำลังสำคัญหลักในช่วงเวลาที่คอยขับเคลื่อนฝั่ง open internet หรืออินเตอร์เน็ตที่เปิดกว้างอย่างเสรีให้ใครมาใช้งานก็ได้ ในโลกของ Web 2.0 และต่อมา Web3.0 แอนดรีสเซนได้ผันตัวมาเป็นนักลงทุน โดยเป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท Venture Capital ภายใต้นามว่า Andreesen & Horowitz หรือที่รู้จักกันในชื่อ a16z ในโลก Web 3.0 บริษัท VC ที่ลงทุนในสตาร์ทอัพ Web 3.0 มากที่สุดบริษัทหนึ่ง

คริส ดิกซ์สัน (Chris Dixon), a16z

ส่วนคริส ดิกซ์สัน เป็น General Partner ของ a16z และถือเป็นเจ้าพ่อแห่ง Mental Model หรือโมเดลทางความคิดของโลก Web 3.0 ดิกซ์สันย่อยความสลับซับซ้อนและความโกลาหลภายในโลกของ Web 3.0 มาในรูปแบบของโมเดลทางความคิดที่เข้าใจได้ง่ายขึ้น และสามารถนำไปใช้เป็นไกด์นำทางเพื่อทำความเข้าใจโลกที่เคลื่อนที่เร็วราวกับติดจรวดเช่นนี้ได้ (ดู ep Mental Model ของคริส ดิกซ์สันได้ที่นี่)

📌ประเด็นหลัก

“Crypto is speedrunning the history of money and finance… While history never repeats but it rhymes.”

“คริปโตเปรียบเสมือนการสปีดรันผ่านประวัติศาสตร์ของเงินตราและการเงิน… แม้ว่าประวัติศาสตร์จะไม่เคยมีครั้งไหนที่เหมือนกัน แต่มันก็สอดคล้องกัน”

- เดวิด ฮอฟแมน (David Hoffman)

ประเด็นหลักๆ ที่พูดคุยก็คือ

  1. The original sin of the internet

    บาปติดตัวที่มาช้านานของอินเตอร์เน็ต ที่มาที่ไปของการเริ่มต้นและพัฒนาของอินเตอร์เน็ตที่ทำให้มี Web 3.0 ที่มีลักษณะเช่นวันนี้

  2. How web3 fixes the internet (i.e. or reinvent the internet)

    เว็บสามจะมาแก้ปัญหาและความผุผังของอินเตอร์เน็ตในวันนี้ได้อย่างไร เว็บสามจะมาเปลี่ยนแปลงและเปิดศักราชใหม่ให้แก่อินเตอร์เน็ตได้อย่างไร

  3. Crypto is like the early internet (including the fight for freedom)

    คริปโตและเว็บ3 มีความเหมือนและต่างกับอินเตอร์เน็ตในยุคบุกเบิกอย่างไร เช่น การต่อสู้เพื่อเสรีภาพ

  4. Why the open internet wins

    ทำไมฝั่ง open internet จะชนะ

  5. Marc Andreesen’s advice to his 22 year-old self

    คำแนะนำจากมาร์ค แอนดรีสเซนให้แก่ตัวเองตอนอายุ 22 ที่เพิ่งก่อตั้ง Netscape และแก่คนรุ่นใหม่ในยุคนี้

✍️ โน้ตสรุปพอดแคสท์แบบละเอียดยิบ

ถ้าใครอยากดาวน์โหลดเป็น PDF ไปอ่าน เชิญลิงค์นี้ค่ะ

เอ่อ ตอนนั้นจดเป็นภาษาอังกฤษ และถ้าอ่านลายมือไม่ออก เราขอโทษด้วย T^T DM มาถามได้นะ
เอ่อ ตอนนั้นจดเป็นภาษาอังกฤษ และถ้าอ่านลายมือไม่ออก เราขอโทษด้วย T^T DM มาถามได้นะ

*ถ้าอยากได้แบบเต็มๆ ยังไงการไปฟังต้นทางก็ดีที่สุดค่ะ ที่จดมามันเป็นมุมมองของเรา อย่าเชื่อเรามากเพราะตราบใดที่เรา #DYOR ด้วยตัวเอง ทุกการตัดสินใจจะเป็นของเราเอง (แม้แต่การตัดสินใจยัง self sovereign อ่ะ คิ๊ดดู๊) FUD หรือข้อมูลผิดๆ แค่ไหน ก็ทำอะไรเราไม่ได้ เพราะเราเข้าใจ

🙋‍♀️ Nucha ว่าไง? (คหสต อย่าเชื่อฉันมาก ฉันมั่ว)

พอดแคสท์ตอนนี้สนุกมาก (เอาจริง พอดแคสท์ Bankless สนุกเกือบทุกตอน ยกเว้นตอนที่เทคนิคคัลจัดๆ จนฟังไม่รู้เรื่องเลย) ส่วนตัวเราเป็นพวกเนิร์ดชอบบริบทประวัติศาสตร์รากของที่มาที่ไป และ ethos ทั้งหลาย เพราะอยากเข้าใจว่าเรามาถึงจุดนี้กันได้ยังไงวะ และเหตุผลอะไรที่ตัดสินใจให้ทำแบบนี้

ที่ชอบมากๆ ของพอดแคสท์นี้เลยคือประเด็นที่พูดเรื่อง open internet ที่เค้าสามารถอธิบายออกมาได้ดีมากว่าความสำคัญของอินเตอร์เน็ตที่เปิดกว้างอย่างเสรีมันคืออะไร ทุกอย่างมันมีที่มาที่ไปของมัน ความสำคัญของ Web 3.0 คืออะไร #ถ้าไม่สู้ก็อยู่อย่างทาส เราชอบการที่เราได้มีส่วนร่วมกับเส้นทางในการพัฒนาซอฟท์แวร์แทนที่จะมาเห็นผลิตภัณฑ์สุดท้าย มันแปลว่าเรามีส่วนในการขับเคลื่อนและคุมหางเสือเรือแห่งอนาคตของเราลำนี้ด้วยเช่นกัน

อีกอย่างที่ชอบ และช่วงหลังๆ นี้ความคิดเราก็เปลี่ยนไปมากเลย ก็คือความสำคัญของการมี ownership และเงิน ใช่ค่ะ เงินค่ะ เมื่อก่อนนี่ก็เป็นเช่นกัน รังเกียจเงิน กลัวความ commercial (ทำไมนะ?) แต่คือพอมาได้ออกจากกะลามาเข้าโลก Web 3 ก็รู้เลยว่าเงินสำคัญมาก ทุกอย่างจะเกิดขึ้นได้อย่างยั่งยืนถ้ามีทุน มีเงิน (เงินกับความโลภไม่ใช่สิ่งเดียวกันนะ) ส่วนเรื่อง ownership เราชอบที่แอนดรีสเซนอ้างอิงหนังสือเล่ม The Mystery of Capital

เราอ่าน Cathedral & Bazaar จบแล้ว [โบสถ์และบาซ่าร์] เลยอยากแนะนำให้ลองอ่านกัน เราก็เพิ่งมาทราบนี่แหละว่ามันเป็น key text เลยสำหรับใครที่สนใจเรื่อง Open software/ open internet เพราะอย่าง Kevin Owocki แห่ง GitCoin ก็แนะนำให้อ่านเหมือนกันนะ อ่านตอนแรกๆ แล้วอาจจะเหวอแดกหน่อย เพราะคนเขียนเค้าเป็นนักพัฒนาและใช้เคสการพัฒนาซอฟท์แวร์บน Linux หลักๆ คือความเรียงมันเปรียบเทียบการทำงานพัฒนาซอฟท์แวร์อินเตอร์เน็ตสองแบบในช่วงยุคบุกเบิก ยุค 90s ถ้าอยากเข้าใจคอนเซปของ Web 3 และ open internet ที่เรากำลังไปกัน ความแตกต่างของบริษัทยักษ์ใหญ่แบบ centralised และการเกิดขึ้นของอีเธอเรียมที่เป็นคอมพิวเตอร์กลางของโลกแบบ decentralised ที่ใครก็มาพัฒนาโปรแกรมและใช้งานได้จะทำให้เก็ทอีเธอเรียมและหลักการของมันได้อีกมาก (ในเว็บ ethereum.org ก็มีการเปรียบเปรยว่าอีเธอเรียมเหมือนกับเป็นบาซ่าร์นั้นแหละ) เข้าใจว่าทำไม The Merge มันช่างวุ่นวายขนาดนี้ (เดี๋ยวมาเขียนถึงด้วยดีกว่า มันเป็นเท็กซ์ที่สนุกมากอ่ะ - บอกแล้ว ชั้นเนิร์ด)

ภาพประกอบนั้นคือบาซ่าร์จริงๆ นะ ยืนยันได้จากการที่เราไปเป็นอาสาสมัครแปลเว็บ ethereum.org
ภาพประกอบนั้นคือบาซ่าร์จริงๆ นะ ยืนยันได้จากการที่เราไปเป็นอาสาสมัครแปลเว็บ ethereum.org

ถ้าใครมีคำถาม หรือคำแนะนำอะไร หรือเจอข้อผิดพลาด DM มาได้เลยค่ะทางทวิตเตอร์ (@nucha_nicha) ไว้มาทำสรุปอีก เห็นคนในทวิตเตอร์ทำกันเยอะ เลยทำตามบ้าง ชอบด้วย สนุกดี #PayItForward ค่ะ

#WAGMI with Love ค่ะทุกคน 🤞

Subscribe to Nucha Nucha
Receive the latest updates directly to your inbox.
Verification
This entry has been permanently stored onchain and signed by its creator.